ดูเพิ่ม: ต.อ., ตอ, ตอฺ, ตอ่, ตือ, ตื้อ, และ ตื๊อ

ภาษาไทย

แก้ไข
 
ต่อ (แมลง)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ต่อ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdtɔ̀ɔ
ราชบัณฑิตยสภาto
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tɔː˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *toːᴮ (ผึ้ง); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨲᩬᩴ᩵ (ตอํ่), ภาษาลาว ຕໍ່ (ตํ่), ภาษาไทลื้อ ᦎᦸᧈ (ต่อ̂), ภาษาไทใหญ่ တေႃႇ (ต่อ̂), ภาษาจ้วง doq; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *ɗawᴮꟲ²

คำนาม

แก้ไข

ต่อ

  1. ชื่อแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายวงศ์ มีปีก 2 คู่ ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน เอวคอดกิ่ว ตัวเมียมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยน้ำพิษทำให้เจ็บปวดได้ บางชนิดอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่บางชนิดรวมกลุ่มเป็นฝูง ทำรัง ที่สำคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหลวง (Vespa cincta)

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຕໍ່ (ตํ่), ภาษาคำเมือง ᨲᩬᩴ᩵ (ตอํ่), ภาษาไทลื้อ ᦎᦸᧈ (ต่อ̂), ภาษาไทดำ ꪔꪷ꪿ (ตํ่), ภาษาไทใหญ่ တေႃႇ (ต่อ̂)

คำกริยา

แก้ไข

ต่อ (คำอาการนาม การต่อ)

  1. เพิ่มให้ยืดออกไป
    ต่อเวลาออกไป
    ต่อหนังสือสัญญา
  2. เพิ่มให้ยาวออกไป
    ต่อเชือก
  3. ทำให้ติดกันเป็นอันเดียว
    ต่อสะพาน
  4. เชื่อมให้ติดต่อกัน
    ต่อคำ
    ต่อความ
  5. เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป
    ต่อกรง
    ต่อเรือ
  6. เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ
  7. ทำให้ติดอย่างไฟ
    ต่อไฟ
    ต่อเทียน
  8. ขอลดราคาให้น้อยลง
    ต่อราคา
    ต่อของ
  9. ท้าพนันโดยยอมลดเปรียบให้
    ต่อให้
  10. ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็น ฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็น ฝ่ายรอง
  11. นำสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่

คำลักษณนาม

แก้ไข

ต่อ

  1. เท่าตัว, เท่าทุน
    กิน 2 ต่อ
    ใช้ 2 ต่อ
  2. ทอด
    ขึ้นรถ 2 ต่อ

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

ต่อ

  1. ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ
    มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา
    (สังข์ทอง)
  2. ถัดไป, สืบไป, ติดต่อกันไป
    ต่อนี้ไป
    ต่อไป
    อ่านต่อ
    วิ่งต่อ
  3. เพิ่มขึ้น
    เรียนต่อ

คำคุณศัพท์

แก้ไข

ต่อ

  1. เรียกสัตว์เลี้ยงที่นำไปล่อสัตว์ป่า
    ช้างต่อ
  2. เรียกสิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน
    คำต่อ
    คำบุรพบทและคำสันธาน
    ข้อต่อ

คำบุพบท

แก้ไข

ต่อ

  1. เฉพาะ, ประจันหน้า
    ยื่นต่ออำเภอ
  2. เมื่อถึง
    มาต่อปีหน้า
  3. แต่ละ, ราย
    ต่อคน
    ต่อปี
  4. เทียบส่วนกัน
    3 ต่อ 1
  5. ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ
    ครูต่อหนังสือให้
    นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์
  6. เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ
    นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู
    ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง

รากศัพท์ 3

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨲᩬᩴ᩵ (ตอํ่), ภาษาลาว ຕໍ່ (ตํ่), ภาษาเขิน ᨲᩳ᩵ (ตอ่), ภาษาไทลื้อ ᦎᦸᧈ (ต่อ̂), ภาษาไทใหญ่ တေႃႇ (ต่อ̂), ภาษาอาหม 𑜄𑜦𑜡 (ตอ̂); เทียบภาษาเขมร () หรือ ទរ (ทร), ภาษาจีนยุคกลาง (MC tuwH)

คำกริยา

แก้ไข

ต่อ (คำอาการนาม การต่อ)

  1. (ร้อยกรอง) รบ
    ซึ่งเจ้ามาต่อด้วยพ่อได้
    (รามเกียรติ์ ร. 1)