ดูเพิ่ม: เชือม

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์เชื่อม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchʉ̂ʉam
ราชบัณฑิตยสภาchueam
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰɯa̯m˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

เชื่อม (คำอาการนาม การเชื่อม)

  1. ทำของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอาน้ำตาลใส่น้ำตั้งไฟเคี่ยวให้ละลาย แล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่
    เชื่อมกล้วย
  2. ต้มน้ำตาลกับน้ำให้ใส เพื่อประสมกับสิ่งอื่น
    เชื่อมน้ำตาล

คำคุณศัพท์

แก้ไข

เชื่อม

  1. เรียกของหวานที่ทำขึ้นด้วยวิธีการเช่นนั้น
    กล้วยเชื่อม
    พุทราเชื่อม
  2. เรียกน้ำหวานที่เอาน้ำตาลต้มให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่น ว่า น้ำเชื่อม
  3. (ล้าสมัย) ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความว่า หวานมาก
    ตาหวานเชื่อม
  4. (ล้าสมัย) มีน้ำเยิ้ม (ใช้แก่นัยน์ตา)
    สูบกัญชาเสียจนตาเชื่อม

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับลาว ເຊື່ອມ (เซื่อม), ไทใหญ่ ၸိူမ်ႈ (เจิ้ม)

คำกริยา

แก้ไข

เชื่อม (คำอาการนาม การเชื่อม)

  1. ทำให้ต่อติดเป็นเนื้อเดียวกัน
    เชื่อมเหล็ก
  2. ทำให้ประสานกัน
    เชื่อมสัมพันธไมตรี
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไข

รากศัพท์ 3

แก้ไข

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

เชื่อม

  1. (โบราณ) มีอาการเงื่องเหงา มึนซึมคล้ายเป็นไข้
    เชื่อมซึม