ดูเพิ่ม: ตำ, ต่ำ, ต้า, และ ต๋า

ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
 
ตา (ส่วนหนึ่งของร่างกาย)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ตา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdtaa
ราชบัณฑิตยสภาta
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/taː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *taːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับอีสาน ตา, ลาว ຕາ (ตา), คำเมือง ᨲᩣ (ตา), เขิน ᨲᩣ (ตา), ไทลื้อ ᦎᦱ (ตา), ไทดำ ꪔꪱ (ตา), ไทใหญ่ တႃ (ตา), คำตี้ တႃႈ, ปู้อี dal, จ้วง da, จ้วงแบบจั่วเจียง ta/ha

คำนาม

แก้ไข

ตา (คำลักษณนาม คน)

  1. พ่อของแม่, ผัวของยาย
    คำพ้องความ: ดูที่ อรรถาภิธาน:ตา
  2. ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับตา
  3. (ภาษาปาก) คำเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่
    ตาเถร
    ตาแก่
    ตาเกิ้น
    ตาโย่ง
    ตาหนู
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไข

รากศัพท์ 2

แก้ไข

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *p.taːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᨲᩣ (ตา), อีสาน ตา, ลาว ຕາ (ตา), ไทลื้อ ᦎᦱ (ตา), ไทดำ ꪔꪱ (ตา), ไทใหญ่ တႃ (ตา), อ่ายตน တႃ (ตา), อาหม 𑜄𑜠 (ตะ) หรือ 𑜄𑜡 (ตา), ปู้อี dal, จ้วง da; เทียบในกลุ่มภาษาขร้า-ไท สุ่ย ndal, ต้งใต้ dal, ไหล [ʈʂʰaː¹] และ เบ [ɗa¹]; เทียบจีนเก่า (OC *taːʔ, “เห็น”), ออสโตรนีเซียนดั้งเดิม *mata (ตา)

คำนาม

แก้ไข

ตา

  1. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่ดู (คำลักษณนาม: ดวง หรือ คู่ หรือ ข้าง)
    คำพ้องความ: ดูที่ อรรถาภิธาน:ตา
  2. ส่วนหนึ่งของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง
  3. ช่องที่เกิดจากการถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน
    ตาร่างแห
    ตาตะแกรง
    ตาตาราง
  4. คราว
    ตานี้
    ถึงตาฉันบ้างละนะ
  5. เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะของสิ่งของ
    ตาสมุก
    ตาราชวัติ
    ตาเมล็ดงา
    ตาเม็ดบัว
    ตาหมากรุก
ลูกคำ
แก้ไข
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไข

ภาษาชอง

แก้ไข

รากศัพท์ 1

แก้ไข

เทียบเขมร តា (ตา)

คำนาม

แก้ไข

ตา

  1. ตา (พ่อของแม่)

รากศัพท์ 2

แก้ไข

สืบทอดจากมอญ-เขมรดั้งเดิม *da(ʔ)

คำนาม

แก้ไข

ตา

  1. เป็ด

คำพ้องความ

แก้ไข

ภาษาบาลี

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

+‎ อา

รูปแบบอื่น

แก้ไข

คำสรรพนาม

แก้ไข

ตา ญ.

  1. คู่ศัพท์เพศหญิงของ

การผันรูป

แก้ไข