ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *p.reːkᴰ (แตก; ระเบิด); เทียบภาษาจีนเก่า (OC *proːwɢs, *poːwɢ, *proːwɢ, “ระเบิด”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ແຕກ (แตก), ภาษาไทลื้อ ᦶᦎᧅ (แตก), ภาษาไทใหญ่ တႅၵ်ႇ (แต่ก), ภาษาไทดำ ꪵꪔꪀ (แตก), ภาษาอาหม 𑜄𑜢𑜀𑜫 (ติก์)ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง pekภาษาจ้วง dek

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์แตก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdtɛ̀ɛk
ราชบัณฑิตยสภาtaek
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tɛːk̚˨˩/(สัมผัส)

คำกริยา

แก้ไข

แตก (คำอาการนาม การแตก)

  1. แยกออกจากส่วนรวม
    แก้วแตก
    ชามแตก
  2. ทำให้แยกออกจากส่วนรวม
    แตกสามัคคี
    แตกหมู่คณะ
  3. คุมหรือควบคุมไว้ไม่อยู่
    แตกฝูง
    ไฟธาตุแตก
    ใจแตก
    ตบะแตก
  4. ปะทุ
    ถ่านแตก
  5. ผลิ
    แตกกิ่งก้าน
    แตกใบอ่อน
    แตกหน่อ
  6. ไหลออกมาเอง
    เหงื่อแตก
    ฉี่แตก
    ขี้แตก
  7. มีรอยแยก, แยกออกเป็นรอย
    กำแพงแตก
    หน้าขนมแตก
  8. (ภาษาปาก, สแลง) น้ำอสุจิหลั่ง
  9. (ภาษาปาก, สแลง, วิดีโอเกม) ตาย, แพ้

คำเกี่ยวข้อง

แก้ไข

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

แตก

  1. ที่อ่านหนังสือออกคล่อง
    อ่านหนังสือแตก

คำคุณศัพท์

แก้ไข

แตก

  1. ที่มีเสียงห้าวเมื่อเริ่มเป็นหนุ่ม
    เสียงแตก
    เสียงแตกหนุ่ม