ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ออก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงɔ̀ɔk
ราชบัณฑิตยสภาok
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔɔːk̚˨˩/(สัมผัส)
ไฟล์เสียง

รากศัพท์ 1

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ออก

  1. (โบราณ)คำนำหน้าบรรดาศักดิ์
    ออกพระ
    ออกหลวง
    ออกขุน
  2. (ภาษาถิ่น) เรียกพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดว่า พ่อออก แม่ออก
  3. เรียกเมืองที่สวามิภักดิ์ว่า เมืองออก

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ออก

  1. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Haliaeetus leucogaster ในวงศ์Accipitridae หัวและด้านล่างของลำตัวสีขาว ปีกสีเทา กินปลาและงูทะเล

รากศัพท์ 3

แก้ไข

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *ʔoːkᴰ; ร่วมเชื้อสายกับลาว ອອກ (ออก), คำเมือง ᩋᩬᨠ (ออก), ไทลื้อ ᦀᦸᧅᧈ (อ่อ̂ก), ไทดำ ꪮꪮꪀ (ออก), ไทใหญ่ ဢွၵ်ႇ (อ่อ̂ก), พ่าเก ဢွက် (ออ̂ก์), อาหม 𑜒𑜨𑜀𑜫 (ออ̂ก์), จ้วง ok

คำกริยา

แก้ไข

ออก (คำอาการนาม การออก)

  1. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง
    เลือดออก
    แดดออก
  2. เคลื่อนจากที่
    รถออก
  3. ทำให้ปรากฏ
    ออกภาพทางโทรทัศน์
  4. ทำให้เกิดขึ้นมีขึ้น
    ออกกฎหมาย
  5. พ้นภาวะ
    ออกจากงาน
  6. แตก, ผลิ, งอก
    ออกกิ่ง
    ออกใบอ่อน
    ออกราก
  7. ผุดขึ้น
    ออกหัด
  8. จ่าย
    ออกเงิน
  9. แสดง
    ออกท่า
  10. นำ
    ออกหน้า
  11. เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง
    ออกเพลงเรือ
    ออกลูกหมด
  12. (คำกริยานุเคราะห์) เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า
    ใจออกจะโกรธ
    ออกฉุน

คำคุณศัพท์

แก้ไข

ออก

  1. ตรงข้ามกับ เข้า
    ทางออก

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

ออก

  1. ขยาย
    คลี่ออก
  2. แยกเป็นคนละส่วน
    แบ่งออก
  3. หลุดไปได้, สำเร็จไปได้
    ร้องออก
    ถอนออก
  4. ได้, ทำได้
    อ่านออก
    นึกออก
    คิดออก
  5. คำประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น
    ดำออกอย่างนี้

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ออก (คำอาการนาม ก๋ารออก หรือ ก๋านออก)

  1. (อกรรม, สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩋᩬᨠ (ออก)