ดูเพิ่ม: ร่อย, ร้อย, และ ร์อย

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์รอย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงrɔɔi
ราชบัณฑิตยสภาroi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/rɔːj˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *rwuːjᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ฮอย, ภาษาลาว ຮອຍ (ฮอย), ภาษาคำเมือง ᩁᩬ᩠ᨿ (รอย), ภาษาเขิน ᩁᩭ (รอย), ภาษาไทลื้อ ᦣᦾ (ฮอ̂ย), ภาษาไทใหญ่ ႁွႆး (ห๊อ̂ย), ภาษาไทใต้คง ᥞᥩᥭᥰ (ห๊อ̂ย), ภาษาอาหม 𑜍𑜨𑜩 (รอ̂ย์), ภาษาจ้วง riz/soiz, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง roiz

คำนาม

แก้ไข

รอย

  1. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    รอยขีด
    รอยหน้าผากย่น
    รอยพระบาท
    รอยต่อ
    รอยประสาน
  2. เค้า, เค้าเงื่อน
    แกะรอย
    ตามรอย
  3. (ในเชิงเปรียบเทียบ) ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
    รอยรัก
  4. ทาง
    มารอยเดียวกัน

คำลักษณนาม

แก้ไข

รอย

  1. เรียกสิ่งที่เป็นรอย
    พระบาท 4 รอย
    มีรอยต่อ 3 รอย

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ฮอย, ภาษาลาว ຮອຍ (ฮอย)

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

รอย

  1. (ร้อยกรอง) เห็นจะ, ชะรอย

ภาษาแสก

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *roːjꟲ (จำนวนร้อย); ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย ร้อย, ภาษาอีสาน ฮ่อย, ภาษาลาว ຮ້ອຍ (ฮ้อย), ภาษาไทลื้อ ᦣᦾᧉ (ฮ้อ̂ย), ภาษาไทดำ ꪭ꫁ꪮꪥ (ฮ้อย), ภาษาไทใหญ่ လွႆႉ (ล๎อ̂ย)

รอย

  1. (หนึ่ง) ร้อย