ภาษาไทยแก้ไข

รากศัพท์แก้ไข

จากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *daːŋᴬ²; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ทาง, ภาษาลาว ທາງ (ทาง), ภาษาคำเมือง ᨴᩤ᩠ᨦ (ทาง), ภาษาเขิน ᨴᩤ᩠ᨦ (ทาง), ภาษาไทลื้อ ᦑᦱᧂ (ทาง), ภาษาไทดำ ꪕꪱꪉ (ต̱าง), ภาษาไทใหญ่ တၢင်း (ต๊าง), ภาษาไทใต้คง ᥖᥣᥒᥰ (ต๊าง), ภาษาอาหม 𑜄𑜂𑜫 (ตง์), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง tangz (Longzhou)

การออกเสียงแก้ไข

การแบ่งพยางค์ทาง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtaang
ราชบัณฑิตยสภาthang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaːŋ˧/(สัมผัส)

คำนามแก้ไข

ทาง

  1. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร
    ทางบก
    ทางน้ำ
    ทางอากาศ
    ทางเดินรถ
    ทางเท้า
    ทางข้าม
    ทางร่วม
    ทางแยก
    ทางลาด
    ทางโค้ง
  2. ช่อง
    ทางประตู
    ทางหน้าต่าง
  3. โอกาส
    ไม่มีทางจะสำเร็จ
  4. แนว
    เดินทางใน
  5. วิธีการ
    ส่งเงินทางธนาณัติ
  6. แถว, แถบ, ถิ่น
    เป็นคนทางไหน
  7. ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน)
    ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร
    ทางเหนือ
    ทางโลก
  8. แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน
  9. เรียกใบของต้นไม้บางชนิดเช่น หมาก มะพร้าว กล้วย
    ทางหมาก
    ทางมะพร้าว
    ทางกล้วย

คำลักษณนามแก้ไข

ทาง

  1. ลักษณนามเรียกใบหมาก ใบมะพร้าว ใบกล้วย เป็นต้น ว่า ทาง
    ใบกล้วยทางหนึ่ง
    ใบมะพร้าว 2 ทาง

คำแปลภาษาอื่นแก้ไข

ภาษาคำเมืองแก้ไข

การออกเสียงแก้ไข

คำนามแก้ไข

ทาง

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨴᩤ᩠ᨦ (ทาง)