ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์หฺมาก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmàak
ราชบัณฑิตยสภาmak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/maːk̚˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

หมาก

  1. ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae โดยเฉพาะชนิด Areca catechuL. ผลมีรสฝาด ใช้เคี้ยวกินกับปูน พลู ซึ่งรวมเรียกว่า กินหมาก และใช้ฟอกหนัง, ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ, ผลที่แก่จัดเรียก หมากสง, เนื้อหมากที่ฝานบาง ๆ ตากแห้ง ลักษณะคล้ายอีแปะ เรียก หมากอีแปะ, ผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนาน ๆ เรียก หมากยับ

รากศัพท์ 2 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰmaːkᴰ (ผลไม้); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໝາກ (หมาก), ภาษาไทลื้อ ᦖᦱᧅ (หฺมาก), ภาษาไทใหญ่ မၢၵ်ႇ (ม่าก), ภาษาไทดำ ꪢꪱꪀ (หฺมาก), ภาษาปักษ์ใต้ ม๊าก, ภาษาจ้วง mak; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *maːkᴰ²

คำนาม แก้ไข

หมาก

  1. ผลไม้
    หมากขาม

รากศัพท์ 3 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

หมาก

  1. เรียกสิ่งของที่เป็นหน่วยเป็นลูก
    หมากเก็บ
    หมากรุก

ลักษณนาม แก้ไข

หมาก

  1. (โบราณ) ลักษณนามเรียกของที่เป็นเม็ดเป็นลูก
    แสงสิบหมาก