ลูก
ภาษาไทย
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *lɯ:kᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ลูก, ภาษาลาว ລູກ (ลูก), ภาษาคำเมือง ᩃᩪᨠ (ลูก), ภาษาไทลื้อ ᦟᦴᧅ (ลูก), ภาษาไทดำ ꪩꪴꪀ (ลุก), ภาษาไทใหญ่ လုၵ်ႈ (ลุ้ก), ภาษาไทใต้คง ᥘᥧᥐ (ลูก), ภาษาคำตี้ လုက်ႉ, ภาษาพ่าเก လုက် (ลุก์), ภาษาอาหม 𑜎𑜤𑜀𑜫 (ลุก์), ภาษาปู้อี leg, ภาษาจ้วง lwg, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง lug
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ลูก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | lûuk |
ราชบัณฑิตยสภา | luk | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /luːk̚˥˩/(สัมผัส) |
คำนาม
แก้ไขลูก
- ผู้มีกำเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก
- คำที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู
- คำที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ
- ลูกไปเล่นกับเพื่อนนะครับ
- สัตว์ที่ยังไม่โต
- ลูกแมว
- ลูกหมา
- ผลไม้, ลูกไม้, สิ่งที่จะสืบเป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ
- เมื่อกล่าวถึงผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคำพยางค์เดียวอันอาจทำให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคำ ลูก ประกอบข้างหน้า
- ลูกเกด
- ลูกชิด
- ใช้เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดยอนุโลม
- ลูกกุญแจ
- ลูกเต๋า
- ลูกหิน
คำลักษณนาม
แก้ไขลูก
- ใช้แก่ลูกไม้หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น
- มะม่วง 5 ลูก
- ลูกหิน 2 ลูก
- ขนมจีบ 10 ลูก
- แป้งข้าวหมาก 3 ลูก
คำประสม
แก้ไขคำแปลภาษาอื่น
แก้ไขผู้กำเนิดจากพ่อแม่
ผลไม้ — ให้ดูที่ ผลไม้
คำคุณศัพท์
แก้ไขลูก
- ที่มีลักษณะเป็นทรงกลม, ที่กลม ๆ
- เคี่ยวกะทิเป็นลูก
ภาษาคำเมือง
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไข- (เชียงใหม่) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /luːk˦˨/
คำนาม
แก้ไขลูก (คำลักษณนาม คน)
- อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩪᨠ (ลูก)
คำลักษณนาม
แก้ไขลูก
- อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩪᨠ (ลูก)