ภาษาไทย แก้ไข

รูปแบบอื่น แก้ไข

  • (เลิกใช้) ฦก

รากศัพท์ แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *lɤkᴰˢ⁴, จากภาษาไทดั้งเดิม *lɤkᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩃᩮᩥᩢ᩠ᨠ (เลิัก), ภาษาปักษ์ใต้ หลึก, ภาษาลาว ເລິກ (เลิก) หรือ ລຶກ (ลึก), ภาษาไทลื้อ ᦵᦟᦲᧅ (เลีก), ภาษาไทใหญ่ လိုၵ်ႉ (ลึ๎ก), ภาษาไทใต้คง ᥘᥫᥐ (เลอ̂ก), ภาษาอาหม 𑜎𑜢𑜤𑜀𑜫 (ลึก์), ภาษาจ้วง laeg, ภาษาจ้วงแบบหนง ndaek

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ลึก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlʉ́k
ราชบัณฑิตยสภาluek
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɯk̚˦˥/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์ แก้ไข

ลึก (คำอาการนาม ความลึก)

  1. ต่ำลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ
    ชามก้นลึก
  2. ไกลต่ำลงไปจากผิวหน้าหรือขอบบน
    ทะเลลึก
    น้ำลึก
    เหวลึก
  3. ไกลเข้าไปจากขอบเป็นต้น
    ป่าลึก
    ซอยลึก
  4. หยั่งรู้ได้ยาก
    ความคิดลึก

คำตรงข้าม แก้ไข