หน้า
ภาษาไทย แก้ไข
รากศัพท์ แก้ไข
สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰnaːꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨶ᩶ᩣ (หน้า), ภาษาลาว ໜ້າ (หน้า), ภาษาไทลื้อ ᦐᦱᧉ (หฺน้า), ภาษาไทดำ ꪘ꫁ꪱ (หฺน้า), ภาษาไทใหญ่ ၼႃႈ (น้า), ภาษาไทใต้คง ᥘᥣᥲ (ล้า) หรือ ᥢᥣᥲ (น้า), ภาษาอาหม 𑜃𑜠 (นะ) หรือ 𑜃𑜡 (นา), ภาษาจ้วง naj
การออกเสียง แก้ไข
การแบ่งพยางค์ | น่า | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | nâa |
ราชบัณฑิตยสภา | na | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /naː˥˩/(สัมผัส) | |
คำพ้องเสียง | น่า |
คำนาม แก้ไข
หน้า
- ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง
- ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง
- ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา
- เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ
- ส่วนบนของบางสิ่ง
- หน้าขนม
- ข้าวเหนียวหน้าสังขยา
- หน้าปกหนังสือ
- เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง
- กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม
- ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ
- หน้ากระดาษ
- หน้าซอง
- ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง
- หน้ากลอง
- ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและน้ำเต้าซึ่งมี 6 ด้าน
- ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยม หรือผืนผ้า เป็นต้น
- ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย
- ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า
- คราว
- เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว
- ฤดู
- หน้าฝน
- หน้าทุเรียน
- (ในเชิงเปรียบเทียบ) คน
- เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน
- (ในเชิงเปรียบเทียบ) เกียรติและศักดิ์ศรี
- เห็นแก่หน้า
- ไม่ไว้หน้า
คำแปลภาษาอื่น แก้ไข
ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง
คำลักษณนาม แก้ไข
หน้า
คำคุณศัพท์ แก้ไข
หน้า
ภาษาคำเมือง แก้ไข
การออกเสียง แก้ไข
- (เชียงใหม่) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /naː˦˦ʔ/
คำนาม แก้ไข
หน้า (ต้องการถอดอักษร)
- อีกรูปหนึ่งของ ᩉ᩠ᨶ᩶ᩣ (หน้า)