ภาษาไทยแก้ไข

การออกเสียงแก้ไข

การแบ่งพยางค์บน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbon
ราชบัณฑิตยสภาbon
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/bon˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɓɯnᴬ (ฟ้า, สวรรค์); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨷᩫ᩠ᨶ (บ็น), ภาษาลาว ບົນ (บ็น), ภาษาไทลื้อ ᦥᦳᧃ (บุ̱น) หรือ ᦢᦳᧃ (บุน), ภาษาไทใหญ่ ဝူၼ် (วูน) หรือ မူၼ် (มูน), ภาษาจ้วง mbwn, ภาษาปู้อี mbenl, ภาษาแสก บึ๋น

คำคุณศัพท์แก้ไข

บน

  1. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง
    ข้างบน
    ชั้นบน
    เบื้องบน

คำบุพบทแก้ไข

บน

  1. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ
    นั่งอยู่บนเรือน
    วางมือบนหนังสือ
    มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ
คำแปลภาษาอื่นแก้ไข

รากศัพท์ 2แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมร បន់ (บน̍)

คำกริยาแก้ไข

บน (คำอาการนาม การบน)

  1. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, บนบาน ก็ว่า

รากศัพท์ 3แก้ไข

คำนามแก้ไข

บน

  1. คำ
    ให้บนถ้อยคำ
    (จินดามณี)
  2. คำที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คำให้การที่จดไว้เป็นหลักฐาน
    ถ้าถามหมีรับให้คาดบนไว้อย่าให้เอาเงีน
    (สามดวง)