ดูเพิ่ม: บ่าง และ บ้าง

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์บาง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbaang
ราชบัณฑิตยสภาbang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/baːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

เทียบเขมร បាង (บาง, อ่าว), มอญ ပါၚ် (ปาง์, ปาก)

คำนาม

แก้ไข

บาง

  1. ทางน้ำเล็ก ๆ, ทางน้ำเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง หรือทะเล
  2. ตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน (คำลักษณนาม: บาง)
  3. โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่
    ฆ่าล้างบาง
    ย้ายล้างบาง

รากศัพท์ 2

แก้ไข

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *C̥.baːŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับลาว ບາງ (บาง), คำเมือง ᨷᩤ᩠ᨦ (บาง), ไทใหญ่ မၢင် (มาง) หรือ ဝၢင် (วาง), ไทใต้คง ᥛᥣᥒ (มาง), อาหม 𑜈𑜂𑜫 (บง์), จ้วง mbang; เทียบสุ่ย qbaangl, ต้งใต้ mangl, เบดั้งเดิม *viaŋᴬ¹

คำคุณศัพท์

แก้ไข

บาง (คำอาการนาม ความบาง)

  1. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย
    มีดบาง
    ผ้าบาง
  2. โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
    ผสมสุราแต่บาง ๆ
    (ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น)
  3. แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป
  4. เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง
  5. เรียกผู้ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้ามกับ หน้าหนา
  6. เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็กเอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย
  7. เรียกคนอ่อนแอทนความลำบากไม่ได้เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง

รากศัพท์ 3

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับลาว ບາງ (บาง), คำเมือง ᨷᩤ᩠ᨦ (บาง), ไทใหญ่ မၢင် (มาง), ไทใต้คง ᥛᥣᥒ (มาง), อาหม 𑜈𑜂𑜫 (บง์)

คำคุณศัพท์

แก้ไข

บาง (คำอาการนาม ความบาง)

  1. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วนย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม, ลาง ก็ใช้
    บางคน
    บางพวก
    บางถิ่น
    บางสิ่ง