ดูเพิ่ม: ได

ภาษาไทย

แก้ไข

รูปแบบอื่น

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɗajꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ได้, ภาษาลาว ໄດ້ (ได้), ภาษาคำเมือง ᨯᩱ᩶ (ได้), ภาษาไทลื้อ ᦺᦡᧉ (ได้), ภาษาไทดำ ꪼꪒ꫁ (ได้), ภาษาไทใหญ่ လႆႈ (ไล้), ภาษาจ้วง ndaej, ภาษานุง đày; เทียบภาษาสุ่ย qdyais, ภาษาต้งใต้ lis, ภาษาไหลดั้งเดิม *ɗɯ

Simpson (2001) เสนอว่า ในที่สุดแล้ว มาจากภาษาจีนยุคกลาง (MC tok) ซึ่งมีการใช้งานในความหมายว่า "สามารถ" ที่ท้ายประโยคเหมือนกับในภาษาไทย[1]

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ด้าย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdâai
ราชบัณฑิตยสภาdai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/daːj˥˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงด้าย

คำกริยา

แก้ไข

ได้ (คำอาการนาม การได้)

  1. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว
    ได้เงิน
    ได้ลูก
    ได้แผล
  2. ใช้ประกอบท้ายคำกริยามีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ
    1. อาจ, สามารถ เช่น เดินได้, เขียนได้
    2. สำเร็จผล เช่น สอบได้
    3. อนุญาต เช่น ลงมือกินได้, ไปได้
  3. (ไวยากรณ์, คำกริยานุเคราะห์) คำช่วยกริยาบอกอดีต
    ได้กิน
    ได้ไป

คำประสม

แก้ไข

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

อ้างอิง

แก้ไข
  1. Simpson, Andrew (2001), chapter Focus, Presupposition and Light Predicate Raising in East and Southeast Asia, in Journal of East Asian Linguistics, volume 10, issue 2, pages 91–92, 110–111

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ได้ (คำอาการนาม ก๋ารได้ หรือ ก๋านได้)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨯᩱ᩶ (ได้)

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

ได้

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨯᩱ᩶ (ได้)

คำสันธาน

แก้ไข

ได้

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨯᩱ᩶ (ได้)