ดูเพิ่ม: ชาย่ และ ช่าย

ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ชาย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchaai
ราชบัณฑิตยสภาchai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰaːj˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʑaːjᴬ (เพศชาย); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຊາຍ (ซาย), ภาษาคำเมือง ᨩᩣ᩠ᨿ (ชาย), ภาษาไทลื้อ ᦋᦻ (ชาย), ภาษาไทดำ ꪋꪱꪥ (จ̱าย), ภาษาไทใหญ่ ၸၢႆး (จ๊าย), ภาษาไทใต้คง ᥓᥣᥭᥰ (จ๊าย), ภาษาอาหม 𑜋𑜩 (ฉย์), ภาษาจ้วง sai

คำนาม แก้ไข

ชาย

  1. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า

รากศัพท์ 2 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʑaːjᴬ (ริม, ขอบ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຊາຍ (ซาย)

คำนาม แก้ไข

ชาย

  1. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง
    ชายผ้า
    ชายจีวร
  2. ส่วนที่สุดเขต, ริม
    ชายป่า
    ชายแดน
    ชายทะเล

รากศัพท์ 3 แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

ชาย (คำอาการนาม การชาย)

  1. พัดอ่อน
    ลมชาย
  2. คล้อย, บ่าย
    ตะวันชาย
  3. เดินเลียบเคียงไป
    ชายไปดู

รากศัพท์ 4 แก้ไข

คำกริยาวิเศษณ์ แก้ไข

ชาย

  1. (ร้อยกรอง) เห็นจะ, ค่อนข้าง
    ชายจะเบากว่าพ่อชาลี
    (ม. ร่ายยาว)

ภาษาญัฮกุร แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษามอญ သာဲ (สาย)

การออกเสียง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ชาย

  1. ผึ้ง