ภาษาไทยแก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
 
ผึ้ง

รากศัพท์แก้ไข

ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลาง (MC pʰɨoŋ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເຜິ້ງ (เผิ้ง) หรือ ເຜີ້ງ (เผี้ง), ภาษาอีสาน เผิ้ง, ภาษาคำเมือง ᨹᩮᩥ᩠᩶ᨦ (เผิ้ง), ภาษาเขิน ᨹᩨ᩠᩶ᨦ (ผื้ง), ภาษาไทลื้อ ᦕᦹᧂᧉ (ผื้ง), ภาษาไทใหญ่ ၽိုင်ႈ (ผึ้ง), ภาษาไทใต้คง ᥚᥪᥒᥲ (ผื้ง), ภาษาไทดำ ꪹꪠꪷ꫁ꪉ (เฝํ้ง), ภาษาอาหม 𑜇𑜢𑜤𑜂𑜫 (ผึง์) , ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง paengj (ผั้ง (Jingxi))

การออกเสียงแก้ไข

การแบ่งพยางค์พึ่ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงpʉ̂ng
ราชบัณฑิตยสภาphueng
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰɯŋ˥˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงพึ่ง

คำนามแก้ไข

ผึ้ง (คำลักษณนาม ตัว)

  1. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ท้องปล้องแรกที่ติดกับอกเล็กมาก ปล้องที่ ๒ มีขนาดไล่เลี่ยกัน ปล้องที่เหลือมีขนาดไล่เลี่ยกับอก ยกเว้นปล้องสุดท้ายที่มีขนาดเล็กกว่ามีขนปกคลุมตามลำตัว รวมตัวอยู่เป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะ เก็บเกสรและน้ำหวานดอกไม้มาทำน้ำผึ้ง

คำพ้องความแก้ไข