แม่
ภาษาไทย
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *meːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน แม่, ภาษาลาว ແມ່ (แม่), ภาษาคำเมือง ᨾᩯ᩵ (แม่), ภาษาไทลื้อ ᦶᦙᧈ (แม่), ภาษาไทดำ ꪵꪣ꪿ (แม่), ภาษาไทใหญ่ မႄႈ (แม้), ภาษาอาหม 𑜉𑜦𑜧 (เม), ภาษาปู้อี meeh, ภาษาจ้วง meh, ภาษาจ้วงใต้ meq
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | แม่ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | mɛ̂ɛ |
ราชบัณฑิตยสภา | mae | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /mɛː˥˩/(สัมผัส) |
คำนาม
แก้ไขแม่
- หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน
- คำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่
- คำใช้นำหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า
- แม่บ้าน
- ผู้หญิงที่กระทำกิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง
- แม่ค้า
- ผู้หญิงที่ค้าขาย
- แม่ครัว
- ผู้หญิงที่ทำครัว
- เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก
- แม่ม้า
- แม่วัว
- เรียกคนผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง
- แม่ทัพ
- แม่กอง
- คำยกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่
- แม่คงคา
- แม่ธรณี
- แม่โพสพ
- เจ้าแม่กาลี
- เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน
- แม่กระได
- แม่แคร่
- แม่แบบ
- เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจำพวกสิ่งที่สำหรับกัน
- แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ
- แม่น้ำ
- แม่ปิง
- แม่วัง
- (ไวยากรณ์) มาตราตัวสะกดในหลักภาษาไทย มี 9 แม่ ได้แก่ แม่ ก กา แม่กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ แม่กม แม่เกย และแม่เกอว
คำพ้องความ
แก้ไข- ดูที่ อรรถาภิธาน:แม่