ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᨦᩣ᩠ᨶ (งาน), ลาว ງານ (งาน), ไทลื้อ ᦇᦱᧃ (งาน), ไทดำ ꪉꪱꪙ (งาน), ไทใหญ่ ငၢၼ်း (ง๊าน), ไทใต้คง ᥒᥣᥢᥰ (ง๊าน), และเป็นไปได้ว่ารวมทั้งเขมรเก่า ងារ៑ (งารฺ) (ซึ่งสืบทอดเป็นเขมร ងារ (งาร))

Khanittanan (2001) เสนอว่ายืมมาจากเขมรเก่า ងារ៑ (งารฺ)[1]

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์งาน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงngaan
ราชบัณฑิตยสภาngan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ŋaːn˧/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

งาน

  1. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทำ (คำลักษณนาม งาน หรือ ชิ้น หรือ อย่าง)
    วรรณคดีเรื่องนี้เป็นงานที่ดีเด่นอีกชิ้นหนึ่ง
  2. พิธีหรืองานรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน (คำลักษณนาม งาน)
  3. มาตราวัดเนื้อที่ตามวิธีประเพณี โดย 1 งานเท่ากับ 100 ตารางวา หรือ 400 ตารางเมตร
  4. (ฟิสิกส์) ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คำนวณได้จาก ผลคูณของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

อ้างอิง

แก้ไข
  1. Khanittanan, W. (2001). Khmero-Thai: The great change in the history of the Thai language of the Chao Phraya Basin. In Proceedings of the 11th Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society (pp. 375-92). Tempe, AZ: Centre for Southeast Asian Studies.