ดูเพิ่ม: แร้ง

ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *reːŋᴬ (แข็งแรง; ความแข็งแรง); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁᩯ᩠ᨦ (แรง), ภาษาเขิน ᩁᩯ᩠ᨦ (แรง), ภาษาอีสาน แฮง, ภาษาลาว ແຮງ (แฮง), ภาษาไทลื้อ ᦶᦣᧂ (แฮง), ภาษาไทดำ ꪵꪭꪉ (แฮง), ภาษาไทใหญ่ ႁႅင်း (แห๊ง), ภาษาไทใต้คง ᥞᥦᥒᥰ (แห๊ง), ภาษาอาหม 𑜍𑜢𑜂𑜫 (ริง์), ภาษาปู้อี reengz, ภาษาจ้วง rengz, ภาษาแสก เร๊ง

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์แรง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงrɛɛng
ราชบัณฑิตยสภาraeng
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/rɛːŋ˧/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

แรง

  1. กำลัง
    แรงคน
    ไม่มีแรง
    มีแรงมาก
    ออกแรง
  2. อำนาจ
    แรงเจ้าที่
    แรงกรรม
  3. (วิทยาศาสตร์) อิทธิพลภายนอกใดที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุ ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง
  4. อัตราการทำงาน กำหนดเป็นกำลังคนต่อช่วงเวลาหนึ่ง
    งานนี้ต้องใช้ 10 แรง

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

คำคุณศัพท์

แก้ไข

แรง (คำอาการนาม ความแรง)

  1. ฉุน, จัด, กล้า
    กลิ่นแรง
  2. แข็ง, มีกำลัง
  3. ศักดิ์สิทธิ์
    ที่นี่เจ้าที่แรง

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

แรง (คำอาการนาม ความแรง)

  1. ใช้กำลังกระทำถึงขีด
    อย่าทำแรง
    ตีแรง ๆ

คำกริยา

แก้ไข

แรง

  1. ออกแรง
  2. หมกมุ่น
    แรงเสพ
    แรงเล่น

ภาษาแสก

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

แรง

  1. แร้ง