ดูเพิ่ม: แข่ง และ แข้ง

ภาษาไทย

แก้ไข

รูปแบบอื่น

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *kʰɛːŋᴬ¹, จากภาษาไทดั้งเดิม *k.reːŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨡᩯ᩠ᨦ (แขง) หรือ ᨡᩯᩢ᩠ᨦ (แขัง), ภาษาลาว ແຂງ (แขง), ภาษาไทลื้อ ᦶᦃᧂ (แฃง), ภาษาไทดำ ꪵꪄꪉ (แฃง), ภาษาไทใหญ่ ၶႅင် (แขง), ภาษาไทใต้คง ᥑᥦᥒᥴ (แฃ๋ง), ภาษาพ่าเก ၵိင် (ขิง์), ภาษาอาหม 𑜁𑜢𑜂𑜫 (ขิง์), ภาษาซาปา xeŋᴬ¹, ภาษาปู้อี jeengl, ภาษาแสก เถรี่ยง (แข็ง) และ แข้ง (ตึง)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์แข็ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkɛ̌ng
ราชบัณฑิตยสภาkhaeng
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰɛŋ˩˩˦/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์

แก้ไข

แข็ง (คำอาการนาม ความแข็ง)

  1. กระด้าง
    ลิ้นแข็ง
  2. ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม
    เนื้อแข็ง
    ของแข็ง
  3. กล้า
    แดดแข็ง
  4. ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร
    ใจแข็ง
  5. แรง
    วันแข็ง
    ชะตาแข็ง
  6. ว่ายาก
    เด็กคนนี้แข็ง
  7. นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย
    ขาแข็ง
    ตัวแข็ง

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

แข็ง (คำอาการนาม ความแข็ง)

  1. เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, สู้งาน
    ทำงานแข็ง
    วิ่งแข็ง

คำกริยา

แก้ไข

แข็ง (คำอาการนาม การแข็ง)

  1. แข็งขืน[1]
    เราเป็นผู้น้อย แข็งไปก็มีแต่อันตราย
  2. มีค่าสูง เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น (ใช้แสดงค่าเงิน)[1]
    เงินบาทตอนนี้แข็ง จะไปเที่ยวต่างประเทศก็น่าจะไปตอนนี้

ดูเพิ่ม

แก้ไข

อ้างอิง

แก้ไข
  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 26.