ดูเพิ่ม: อา., อำ, อ่า, อ้า, และ อ๋า

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์อา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงaa
ราชบัณฑิตยสภาa
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔaː˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงอาร์
อาว์

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน อา (น้องสาวของพ่อ) และ อาว (น้องชายของพ่อ), ภาษาลาว ອາ (อา), ภาษาไทใหญ่ ဢႃ (อา)

คำนาม

แก้ไข

อา

  1. น้องชายหรือน้องสาวของพ่อ, โบราณเขียนเป็น อาว์ ก็มี
  2. เรียกผู้ที่มีวัยอ่อนกว่าพ่อ
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไข

รากศัพท์ 2

แก้ไข

เลียนเสียงธรรมชาติ

คำอนุภาค

แก้ไข

อา

  1. (ร้อยกรอง) คำออกเสียงท้ายคำพูดในความรำพึงหรือวิตกเป็นต้น
    แม่อา
    พี่อา

คำอุทาน

แก้ไข

อา

  1. เสียงที่เปล่งออกมาในความรำพึงหรือวิตกเป็นต้น

รากศัพท์ 3

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาฮกเกี้ยน (อา, กิ่งไม้ที่แยกออกเหมือนตัว Y)

คำนาม

แก้ไข

อา

  1. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยแทง อา เหม็ง ซั้ว กางปีก 3 ประตู โปออกประตูใดใน 3 ประตูนั้น เจ้ามือใช้ 1 ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกินหมดทั้ง 3 ประตู

รากศัพท์ 4

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาแต้จิ๋ว (a1)

คำอนุภาค

แก้ไข

อา

  1. คำขึ้นต้นเครือญาติที่มาจากภาษาจีน ใช้นำหน้าชื่อคนได้ด้วย
    อากง
    อาม่า
    อาตี๋
    อาหมวย