ดูเพิ่ม: ส่าว

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์สาว
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǎao
ราชบัณฑิตยสภาsao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/saːw˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *saːwᴬ (หญิงที่ยังไม่แต่งงาน); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩈᩣ᩠ᩅ (สาว), ภาษาลาว ສາວ (สาว), ภาษาไทลื้อ ᦉᦱᧁ (สาว), ภาษาไทใต้คง ᥔᥣᥝᥴ (ส๋าว), ภาษาไทใหญ่ သၢဝ် (สาว), ภาษาไทดำ ꪎꪱꪫ (สาว), ภาษาอาหม 𑜏𑜧 (สว์), 𑜏𑜨𑜧 (สอ̂ว์), 𑜏𑜧𑜤 (สาว์), 𑜏𑜧𑜈𑜫 (สว์ว์), หรือ 𑜏𑜦𑜡 (สอ̂), ภาษาจ้วง sau

คำนาม

แก้ไข

สาว

  1. หญิงที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ 15–30 ปีขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้แต่งงาน ใช้คำว่า นางสาว นำหน้าชื่อ
    ย่างเข้าสู่วัยสาว
    โตเป็นสาวแล้วยังซุกซนเหมือนเด็ก ๆ
  2. คำนำหน้าชื่อหญิงสาว (มักใช้กับดารา นักร้อง)
    สาวนุ่นรับเตรียมลั่นระฆังวิวาห์สิ้นปี

คำคุณศัพท์

แก้ไข

สาว (คำอาการนาม ความสาว)

  1. เรียกคนและสัตว์ที่มีท้องครั้งแรกว่า ท้องสาว
  2. เรียกต้นไม้ที่เริ่มผลิดอกออกผลครั้งแรก
    หมากสาว
    มะพร้าวสาว
  3. เรียกหญิงที่ยังไม่แก่ตามวัย
    แม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็ยังดูสาวอยู่
  4. เรียกหญิงที่ยังไม่แต่งงาน
    จะพูดอะไรให้เกรงใจเขาบ้าง ถึงเขาจะอายุมากแล้วแต่ก็ยังเป็นสาวอยู่

คำกริยา

แก้ไข

สาว

  1. มีลักษณะท่าทางเป็นผู้หญิง
    หนุ่มคนนี้ไว้ผมยาวแล้ว ดูสาวกว่าผู้หญิงเสียอีก

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສາວ (สาว)

คำกริยา

แก้ไข

สาว (คำอาการนาม การสาว)

  1. ชักหรือดึงสิ่งที่เป็นเส้นยาว ๆ ออกจากที่เข้าหาตัว
    สาวไหม
    สาวเชือก
  2. โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
    สาวความ

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

สาว

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩈᩣ᩠ᩅ (สาว)