ดูเพิ่ม: หำ, ห่า, ห้า, และ ห้ำ

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์หา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhǎa
ราชบัณฑิตยสภาha
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/haː˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *kraᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉᩣ (หา), ภาษาลาว ຫາ (หา), ภาษาไทลื้อ ᦠᦱ (หา), ภาษาไทดำ ꪬꪱ (หา), ภาษาไทใหญ่ ႁႃ (หา), ภาษาไทใต้คง ᥑᥣᥴ (ฃ๋า), ภาษาอาหม 𑜁𑜡 (ขา) หรือ 𑜁𑜞𑜠 (ขฺระ), ภาษาจ้วง ra, ภาษาแสก หร่า, ภาษาจ้วงใต้ ha

คำกริยา

แก้ไข

หา (คำอาการนาม การหา)

  1. มุ่งพบ, พบ
    ไปหาหมอ
    เพื่อนมาหา
  2. เยี่ยม, เยี่ยมเยียน
    เพิ่งทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย
  3. ฟ้อง, กล่าวโทษ
    เขาหาว่า…
  4. พึ่ง
    ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร
  5. บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ
    ค้นหา
    สืบหา
    เที่ยวหา
    ตามหา
    เสาะหา
    แสวงหา

คำบุพบท

แก้ไข

หา

  1. (ล้าสมัย) ที่
    เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร
  2. สู่
    เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำอนุภาค

แก้ไข

หา

  1. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ
    ว่ากระไรหา