ชัก
ภาษาไทย
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขร่วมเชื้อสายกับลาว ຊັກ (ซัก), คำเมือง ᨩᩢ᩠ᨠ (ชัก), เขิน ᨩᩢ᩠ᨠ (ชัก), ไทใหญ่ ၸၵ်ႉ (จั๎ก)
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ชัก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | chák |
ราชบัณฑิตยสภา | chak | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /t͡ɕʰak̚˦˥/(สัมผัส) | |
คำพ้องเสียง | ชัค |
คำกริยา
แก้ไขชัก (คำอาการนาม การชัก)
- (สกรรม) ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ
- ชักว่าว
- ชักรอก
- (สกรรม) ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น
- ชักดาบออกจากฝัก
- ชักลิ้นชักโต๊ะ
- (สกรรม) ดึงเอามา
- ชักผ้าป่า
- ชักผ้าบังสุกุล
- (สกรรม) ดึงออกแล้วดันเข้า
- ชักสูบ
- ชักเข้า
- ชักออก
- (สกรรม) นำ
- ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน
- (สกรรม) นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง
- ชักตัวอย่าง
- (สกรรม) เอาออก, หักออก
- ชักค่าอาหาร
- ชักค่านายหน้า
- (สกรรม) ขยายแนวให้ยืดออก
- ชักปีกกา
- ชักกำแพง
- (สกรรม) สี
- ชักซอ
- (สกรรม) กระตุก
- ชักจ้องหน่อง
- (อกรรม) อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกอย่างกะทันหันและรุนแรง มักมีอาการมือเท้าเกร็ง
คำกริยาวิเศษณ์
แก้ไขชัก