สาย
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | สาย | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sǎai |
ราชบัณฑิตยสภา | sai | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /saːj˩˩˦/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᩈᩣ᩠ᨿ (สาย), ᨡ᩠ᩅᩣ᩠ᨿ (ขวาย), ลาว ສາຍ (สาย), ສວາຍ (สวาย), ไทดำ ꪎꪱꪥ (สาย), จ้วง sai, จ้วงแบบจั่วเจียง svai
คำนาม
แก้ไขสาย
คำกริยาวิเศษณ์
แก้ไขสาย (คำอาการนาม ความสาย)
- ช้ากว่าเวลาที่กำหนด, ล่าช้า
- มาทำงานสาย
- โดยปริยายหมายความว่า พ้นเวลาที่จะแก้ไข, สุดที่จะแก้ไขได้
- เรื่องนี้ทำอะไรไม่ได้ สายเกินไปเสียแล้ว
รากศัพท์ 2
แก้ไขสืบทอดจากไทดั้งเดิม *saːjᴬ; ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᩈᩣ᩠ᨿ (สาย), ลาว ສາຍ (สาย), ไทลื้อ ᦉᦻ (สาย), ไทดำ ꪎꪱꪥ (สาย), ไทขาว ꪎꪱꪥ, ไทแดง ꪎꪱꪥ, ไทใหญ่ သၢႆ (สาย), ไทใต้คง ᥔᥣᥭᥴ (ส๋าย), อ่ายตน ꩬႝ (สย์), พ่าเก ꩬႝ (สย์), อาหม 𑜏𑜩 (สย์), จ้วง sai, จ้วงแบบจั่วเจียง sai
คำนาม
แก้ไขสาย (คำลักษณนาม สาย)
- สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นแนวยาว
- สายสร้อย
- สายไฟฟ้า
- สายรุ้ง
- สายนาฬิกา
- สายเข็มขัด
- ทาง, เส้นทาง
- รถไฟสายเหนือ
- รถไฟสายใต้
- โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
- สายการบิน
- สายการเดินเรือ
- สายงาน
- ญาติที่สืบมาจากต้นวงศ์หรือต้นสกุลเดียวกัน แล้วแยกเป็นสกุลย่อยออกไป
- ผู้เข้าไปสืบความลับหรือความเคลื่อนไหวเป็นต้นของอีกฝ่ายหนึ่ง
- ระวังคนใช้เป็นสายให้โจร
คำลักษณนาม
แก้ไขสาย
- เรียกสิ่งที่เป็นแนวหรือเส้นยาว
- สายสะพาย 2 สาย
- ทาง 3 สาย