ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨲᩫ᩠᩶ᨶ (ต็้น), ภาษาเขิน ᨲᩫ᩠᩶ᨶ (ต็้น), ภาษาลาว ຕົ້ນ (ต็้น), ภาษาไทลื้อ ᦎᦳᧃᧉ (ตุ้น), ภาษาไทใหญ่ တူၼ်ႈ (ตู้น), ภาษาไทใต้คง ᥖᥨᥢᥲ (โต้น), ภาษาพ่าเก တုꩫ် (ตุน์), ภาษาอาหม 𑜄𑜤𑜃𑜫 (ตุน์)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ต้น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdtôn
ราชบัณฑิตยสภาton
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ton˥˩/(สัมผัส)

คำนาม แก้ไข

ต้น

  1. ลำของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง
    ต้นมะขาม
    ต้นสัก
    ต้นหญ้า
    ต้นผักชี
    ต้นข้าว
  2. เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้นวงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ ต้นสกุล
  3. เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว
    ต้นขา
    ต้นแขน
  4. ตอนแรก
    ต้นสัปดาห์
    ต้นเดือน
    ต้นปี
  5. ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทำกิจการประจำ
    ต้นกุญแจ
    ต้นห้อง
  6. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่งมีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต้น
    ต้นเพลงฉิ่ง
    ต้นเพลงยาว
    ต้นเพลงรำ
    (ดึกดำบรรพ์)

คำลักษณนาม แก้ไข

ต้น

  1. ใช้กับต้นไม้หรือเสา
    มะม่วงต้นหนึ่ง
    ผักชี 2 ต้น

คำคุณศัพท์ แก้ไข

ต้น

  1. แรก
    หน้าต้น
  2. แรกเริ่ม
    แต่ต้น
  3. เนื่องในพระเจ้าแผ่นดิน
    ประพาสต้น
    กฐินต้น
    ช้างต้น
    ม้าต้น

ภาษาคำเมือง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ต้น

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨲᩫ᩠᩶ᨶ (ต็้น)

ภาษาปักษ์ใต้ แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ต้น

  1. คำนำหน้าชื่อพระภิกษุสามัญ