ผูก
ภาษาไทย
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *pʰuːkᴰ¹ᴸ, จากภาษาไทดั้งเดิม *cm̩.rukᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨹᩪᨠ (ผูก), ภาษาเขิน ᨹᩪᨠ (ผูก), ภาษาลาว ຜູກ (ผูก), ภาษาไทลื้อ ᦕᦳᧅᧈ (ผุ่ก), ภาษาไทดำ ꪠꪴꪀ (ฝุก), ภาษาไทใหญ่ ၽုၵ်ႇ (ผุ่ก), ภาษาพ่าเก ၸုက် (ผุก์), ภาษาอาหม 𑜇𑜤𑜀𑜫 (ผุก์)
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ผูก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | pùuk |
ราชบัณฑิตยสภา | phuk | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /pʰuːk̚˨˩/(สัมผัส) |
คำกริยา
แก้ไขผูก (คำอาการนาม การผูก)
- เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น, ตรงข้ามกับ แก้
- ผูกเชือก
- ผูกลวด
- ผูกโบ
- ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- ผูกใจ
- ผูกโกรธ
- ผูกมิตร
- ประกอบเข้า, ตรงข้ามกับ แก้
- ผูกประโยค
- ผูกปริศนา
- ผูกลาย
- ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน
- ผูกตลาด
- ผูกท่า
- คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก)
- เอาม้าผูกโคน
- เอาเรือผูกม้า
- ขมวด
- ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที(นิราศนรินทร์)
- จอง
- ผูกเวร
คำลักษณนาม
แก้ไขผูก