ดูเพิ่ม: ม.อ., ม̂อ, มอ, มื้อ, และ มื๊อ

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์มือ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmʉʉ
ราชบัณฑิตยสภาmue
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/mɯː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *mɯːᴬ⁴, จากภาษาไทดั้งเดิม *mwɯːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน มือ, ภาษาลาว ມື (มื), ภาษาคำเมือง ᨾᩨ (มื), ภาษาไทลื้อ ᦙᦹ (มื), ภาษาไทดำ ꪣꪳ (มึ), ภาษาไทขาว ꪝꪳ, ภาษาไทใหญ่ မိုဝ်း (มึ๊ว), ภาษาอ่ายตน မိုဝ် (มึว์), ภาษาไทใต้คง ᥛᥪᥰ (มื๊), ภาษาอาหม 𑜉𑜢𑜤𑜈𑜫 (มึว์), ภาษาจ้วง mwz, ภาษาแสก มื๊อ; เทียบภาษาสุ่ย myal, ภาษาเบดั้งเดิม *məːᴬ², ภาษาไหลดั้งเดิม *C-mɯː, ภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม *qalima

คำนาม แก้ไข

มือ

  1. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วยฝ่ามือและนิ้วมือ สำหรับจับเป็นต้น
  2. เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิดที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้
    มือกล
    มือหุ่นยนต์
  3. เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้น ว่า มือ
    คนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้
  4. หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะสิ่งอื่นอย่างมือ
    มือตำลึง
    มือบวบ
คำแปลภาษาอื่น แก้ไข

คำลักษณนาม แก้ไข

มือ

  1. บอกจำนวนนับ 5 ลูก เป็น 1 มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ)

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

มือ

  1. ใช้ประกอบหน้าชื่อเครื่องดนตรีที่ใช้มือบรรเลง เพื่อหมายถึงผู้ที่มีความชำนาญหรือมีทักษะในการบรรเลงดนตรีนั้น
    มือระนาด
    มือจะเข้
    มือกลอง
    มือปี่

รากศัพท์ 3 แก้ไข

จากรูปร่างของผลส้มชนิดนี้ที่คล้ายนิ้วมือ

คำนาม แก้ไข

มือ

  1. ชื่อส้มชนิด Citrus medica L. var. sarcodactylis (Hoola van Nooten) Swingle ในวงศ์ Rutaceae ซึ่งส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ใช้ทำยาดมได้ เรียกว่า ส้มมือ

ภาษาแสก แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *mwɯ:ꟲ (วัน); ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย มื้อ, ภาษาคำเมือง ᨾᩨ᩶ (มื้), ภาษาลาว ມື້ (มื้), ภาษาไทลื้อ ᦙᦹᧉ (มื้), ภาษาไทใหญ่ မိုဝ်ႉ (มึ๎ว)

คำนาม แก้ไข

มือ

  1. วัน