ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
 
(1) เกาะ

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์เกาะ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgɔ̀
ราชบัณฑิตยสภาko
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kɔʔ˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมร កោះ (โกะ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເກາະ (เกาะ)

คำนาม แก้ไข

เกาะ

  1. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ
  2. ละเมาะ
  3. พื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
คำประสม แก้ไข
คำแปลภาษาอื่น แก้ไข

รากศัพท์ 2 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເກາະ (เกาะ), ภาษาจ้วง goj (ก้อ-กำ จับ), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง goj (ก้อ-กำ จับ ถือ)

คำกริยา แก้ไข

เกาะ (คำอาการนาม การเกาะ)

  1. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่
    นกเกาะกิ่งไม้
    แมงมุมเกาะฝา
  2. เอาสิ่งมีขอเป็นต้น เกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่
    เอาขอเกาะต้นไม้
  3. อาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน
    ปลิงเกาะ
    ดินเกาะเป็นก้อน
    บินเกาะหมู่
    วิ่งเกาะกลุ่ม
  4. ไปเอาตัวมาโดยอำนาจศาลเป็นต้น
    ไปเกาะตัวมา
คำประสม แก้ไข
คำแปลภาษาอื่น แก้ไข

รากศัพท์ 3 แก้ไข

คำอุทาน แก้ไข

เกาะ

  1. เสียงเคาะ

ภาษาญัฮกุร แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

เป็นไปได้ว่ายืมมาจากภาษาไทย เกาะ

การออกเสียง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

เกาะ

  1. เกาะ (แผ่นดิน)

ภาษามอญแบบไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษามอญ-เขมรดั้งเดิม *kɔʔ ~ *kɔ(ɔ)k

รูปแบบอื่น แก้ไข

คำนาม แก้ไข

เกาะ

  1. คอ

รากศัพท์ 2 แก้ไข

เป็นไปได้ว่ายืมมาจากภาษาไทย ข้อ

รูปแบบอื่น แก้ไข

คำนาม แก้ไข

เกาะ

  1. ข้อ (เช่น ข้อมือ)

รากศัพท์ 3 แก้ไข

ดูที่ ตะเกาะ

รูปแบบอื่น แก้ไข

คำนาม แก้ไข

เกาะ

  1. เกาะ (แผ่นดิน)

อ้างอิง แก้ไข

  • พวน รามัญวงศ์ (2005) พจนานุกรมมอญ-ไทย ฉบับมอญสยาม [Mon-Thai (Siamese) Dictionary], กรุงเทพฯ: มติชน, →ISBN