ดูเพิ่ม: ยัก และ ยิก

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ยก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงyók
ราชบัณฑิตยสภาyok
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/jok̚˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɲɤkᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຍົກ (ย็ก), ภาษาไทลื้อ ᦷᦍᧅ (โยก), ภาษาไทใหญ่ ယုၵ်ႉ (ยุ๎ก), ภาษาอาหม 𑜊𑜤𑜀𑜫 (ยุก์)ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง yojภาษาจ้วง yoj

คำกริยา แก้ไข

ยก (คำอาการนาม การยก)

  1. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย
  2. เคลื่อนไป, พากันไป
    ยกทัพ
    ยกพวก
  3. งดเว้น, เพิกถอน
    ยกโทษ
    ยกภาษี
    ยกคำสั่ง
  4. มอบ
    ยกลูกสาวให้
    ยกสมบัติให้
  5. อ้าง
    ยกตัวอย่าง
  6. พักไว้ก่อน, ผลัดไป[1]
    ยกไว้ก่อน
  7. นำไปทำต่อคราวหน้า[1]
    ขอยกไปเล่าต่อคราวหน้า
  8. ทำได้พิเศษมากกว่าคนอื่น[1]
    เรื่องพูดชักจูงคน ยกไว้ให้เขาเลย

คำแปลภาษาอื่น แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ยก

  1. เรียกผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลาย เด่นขึ้นว่า ผ้ายก

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ยก

  1. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง 1 ศอก ยาว 16 วา หนา 1 นิ้ว เป็น 1 ยก ตามอัตราไม้นิ้ว
  2. กำหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจำนวนหนึ่ง
    มวยยกหนึ่งกำหนด 23 นาที
    เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด 30 ที
  3. กระดาษ แผ่นหนึ่งขนาด 31 × 42 นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ 4 หน้า เรียกว่า ขนาด 4 หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ 8 หน้า 16 หน้า หรือ 32 หน้า เรียกว่า ขนาด 8 หน้ายก 16 หน้ายก หรือ 32 หน้ายก
  4. กำหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ 3 วันบ้าง 7 วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น

อ้างอิง แก้ไข

  1. 1.0 1.1 1.2 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 3 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2554. หน้า 88.