ไม้
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ม้าย | |
การแผลงเป็นอักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | máai |
ราชบัณฑิตยสภา | mai | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /maːj˦˥/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากไทดั้งเดิม *mwajꟲ; ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᨾᩱ᩶ (ไม้), ลาว ໄມ້ (ไม้), ไทลื้อ ᦺᦙᧉ (ไม้), ไทดำ ꪼꪣ꫁ (ไม้), ไทขาว ꪼꪝꫂ, ไทใหญ่ မႆႉ (ไม๎), ไทใต้คง ᥛᥭᥳ (มั๎ย), อ่ายตน မႝ (มย์), อาหม 𑜉𑜩 (มย์), จ้วง faex, จ้วงแบบหนง maex, แสก ไม
คำนาม
แก้ไขไม้
- คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ
- เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น
- คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้
- ไม้กวาด
- ไม้พาย
- ไม้เท้า
- ไม้จิ้มฟัน
- คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้
- ไม้ยาง
- ไม้ดำ
- ไม้แดง
- ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที
- เขาจะมาไม้ไหน
- เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ 3 มุม รวม 4 มุมใหญ่ ได้ 12 มุมเล็กว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ 3 ก็ยังเรียกเช่นเดิม
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไขคำคุณศัพท์
แก้ไขไม้
- ทำด้วยไม้
- ประตูไม้
- กล่องไม้
คำลักษณนาม
แก้ไขไม้
- เรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับ
- ปลาไม้หนึ่ง
- ปลา 2 ไม้
- เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างใน
- ผ้าไม้หนึ่ง
- ผ้า 2 ไม้
รากศัพท์ 2
แก้ไขคำนาม
แก้ไขไม้
ภาษาคำเมือง
แก้ไขคำนาม
แก้ไขไม้
- อีกรูปหนึ่งของ ᨾᩱ᩶ (ไม้)