ฐาน
ภาษาไทยแก้ไข
รากศัพท์แก้ไข
จากภาษาบาลี ฐาน ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຖານ (ถาน), ภาษาคำเมือง ᨮᩣᨶ (ฐาน) หรือ ᨮᩣ᩠ᨶ (ฐาน)
การออกเสียงแก้ไข
การแบ่งพยางค์ | ถาน | [เสียงสมาส] ถา-นะ- | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | tǎan | tǎa-ná- |
ราชบัณฑิตยสภา | than | tha-na- | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /tʰaːn˩˩˦/(สัมผัส) | /tʰaː˩˩˦.na˦˥./ | |
คำพ้องเสียง | ถาน |
คำนามแก้ไข
ฐาน
- ที่ตั้ง
- ฐานทัพ
- ฝีตั้งฐาน
- ที่รองรับ
- ฐานพระพุทธรูป
- ตำแหน่งหน้าที่
- หลักฐาน
- ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม
- (เรขา) เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต
- ฐานของสามเหลี่ยม
- ฐานของกรวย
- (คณิต) จำนวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้างจำนวนอื่น ๆ โดยการยกกำลังหรือหาค่าของลอการิทึม
- จำนวน 3 ใน 34 คือฐาน
- จำนวน 7 ใน log7 49 คือฐาน
- (คณิต) จำนวนที่บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข
- เมื่อ 635 เป็นตัวเลขฐาน 10 ใช้สัญลักษณ์ว่า 63510 ซึ่งแทน 5 + (3 × 10) + (6 × 102)
- เมื่อ 635 เป็นตัวเลขฐาน 7 ใช้สัญลักษณ์ว่า 6357 ซึ่งแทน 5 + (3 × 7) + (6 × 72)
- (สถิติ) จำนวนที่มีอยู่เดิมและจะนำไปคำนวณรวมกับจำนวนที่เกิดขึ้นใหม่
- ฐานคะแนน
- ฐานลูกค้า
- ฐานเงินเดือน
คำเกี่ยวข้องแก้ไข
คำแปลภาษาอื่นแก้ไข
ที่ตั้ง, ที่รองรับ
คำสันธานแก้ไข
ฐาน
- เพราะ
- ถูกลงโทษฐานละเลยหน้าที่
ดูเพิ่มแก้ไข
ภาษาบาลีแก้ไข
รูปแบบอื่นแก้ไข
เขียนด้วยอักษรอื่น
รากศัพท์แก้ไข
ฐา + ยุ หรือ ฐา + อน; เทียบภาษาสันสกฤต स्थान (สฺถาน)
คำนามแก้ไข
าน ก.
การผันรูปแก้ไข
ตารางการผันรูปของ "ฐาน" (เพศกลาง)
การก \ พจน์ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
กรรตุการก (ปฐมา) | ฐานํ | ฐานานิ |
กรรมการก (ทุติยา) | ฐานํ | ฐานานิ |
กรณการก (ตติยา) | ฐาเนน | ฐาเนหิ หรือ ฐาเนภิ |
สัมปทานการก (จตุตถี) | ฐานสฺส หรือ ฐานาย หรือ ฐานตฺถํ | ฐานานํ |
อปาทานการก (ปัญจมี) | ฐานสฺมา หรือ ฐานมฺหา หรือ ฐานา | ฐาเนหิ หรือ ฐาเนภิ |
สัมพันธการก (ฉัฏฐี) | ฐานสฺส | ฐานานํ |
อธิกรณการก (สัตตมี) | ฐานสฺมิํ หรือ ฐานมฺหิ หรือ ฐาเน | ฐาเนสุ |
สัมโพธนการก (อาลปนะ) | ฐาน | ฐานานิ |
คำคุณศัพท์แก้ไข
าน
- เป็นที่ตั้ง, เป็นที่ยืน