ดูเพิ่ม: ทา, ทำ, และ ท้า

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ท่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtâa
ราชบัณฑิตยสภาtha
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaː˥˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงถ้า
ไฟล์เสียง

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *daːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ท่า, ภาษาลาว ທ່າ (ท่า), ภาษาคำเมือง ᨴ᩵ᩤ (ท่า), ภาษาเขิน ᨴ᩵ᩤ (ท่า), ภาษาไทลื้อ ᦑᦱᧈ (ท่า), ภาษาไทใหญ่ တႃႈ (ต้า, ท่า; ที่น้ำตื้น), ภาษาจ้วง dah (แม่น้ำ)

คำนาม แก้ไข

ท่า

  1. ฝั่งน้ำสำหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่าน้ำ ก็เรียก
  2. ที่สำหรับขึ้นลงริมน้ำ
    ท่าข้าม
  3. (ในเชิงเปรียบเทียบ) ที่จอดยานพาหนะบางชนิด
    ท่าเกวียน
    ท่าอากาศยาน
  4. เรียกน้ำในแม่น้ำลำคลองว่า น้ำท่า, คู่กับ น้ำฝน

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ท่า

  1. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ
    ท่ายืน
    ท่านั่ง
    ท่านอน
  2. การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกำหนดเป็นวิธีไว้
    ท่ามวย
    ท่ารำ
  3. ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี
    พลาดท่า
    ได้ท่า
    เสียท่า

รากศัพท์ 3 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *tʰaːꟲ¹; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ถ้า หรือ ถ่า, ภาษาลาว ຖ້າ (ถ้า), ภาษาคำเมือง ᨳ᩶ᩣ (ถ้า), ภาษาเขิน ᨳ᩶ᩣ (ถ้า), ภาษาไทลื้อ ᦏᦱᧉ (ถ้า), ภาษาไทดำ ꪖ꫁ꪱ (ถ้า), ภาษาไทใหญ่ ထႃႈ (ถ้า), ภาษาพ่าเก ထႃ (ถา), ภาษาอาหม 𑜌𑜠 (ถะ), 𑜌𑜡 (ถา), หรือ 𑜌𑜡𑜠 (ถาะ)

รูปแบบอื่น แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

ท่า

  1. (สกรรม) รอคอย, มักใช้เข้าคู่กับ คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า
    เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน
    (อิเหนา)