ภาษาไทย แก้ไข

รูปแบบอื่น แก้ไข

  • (เลิกใช้)  

รากศัพท์ แก้ไข

จากภาษาเขมร ព្រះ (พฺระ), จากภาษาบาลี วร (ประเสริฐ, สูงสุด), เทียบกับภาษาลาว ພະ (พะ), ภาษาคำเมือง ᨻᩕ (พร), ภาษาไทลื้อ ᦘᦰ (ภะ), ภาษาไทใหญ่ ၽြႃး (ผฺร๊า), ภาษาชวา bra; ร่วมรากกับ พร และ วร

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์พฺระ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงprá
ราชบัณฑิตยสภาphra
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰraʔ˦˥/(สัมผัส)

คำนาม แก้ไข

พระ

  1. (ศาสนาพุทธ) คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์
    วัดนี้มีพระกี่รูป
    พระลงโบสถ์
  2. (ศาสนาพุทธ) พระพุทธรูป
    ชักพระ
    ไหว้พระในโบสถ์
  3. (ศาสนาพุทธ) พระพุทธเจ้า หรือเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า
    เมืองพระ
    คำพระ
    พระมาตรัส
  4. (ศาสนาพุทธ) ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม 14 ค่ำ เรียกว่า วันพระ
  5. (ศาสนาคริสต์) พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก)
    พระลงโทษ
    แม่พระ
  6. (ศาสนา) นักบวช, นักพรต
    พระไทย
    พระแขก
    พระฝรั่ง
    พระจีน
    พระญวน
  7. ตัวเอกในเรื่องละคร
    ตัวพระตัวนาง
  8. ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง เช่น เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ นักบวช และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    พระอิศวร
    พระนารายณ์
    พระพิรุณ
    พระมหากษัตริย์
    พระราชวงศ์
    พระราชเวที
    พระเทพเมธี
    พระแดง
    พระภูมิ
  9. อิสริยยศเจ้านาย
    พระรามคำแหง
    พระนเรศวร
    พระเทียรราชา
  10. บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา
    พระสารประเสริฐ
    พระธรรมนิเทศทวยหาญ
  11. ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม
  12. โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ
    ใจพระ
    พ่อแม่เป็นพระของลูก

คำพ้องความ แก้ไข

(ภิกษุ): ดูที่ อรรถาภิธาน:ภิกษุ
(ภิกษุณี): ดูที่ อรรถาภิธาน:ภิกษุณี

คำสรรพนาม แก้ไข

พระ

  1. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3
    พระเสด็จโดยแดนชล