ภาษาเขมร

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

จากภาษาเขมรเก่า វ្រះ (วฺระ) โดยต้นกำเนิดยังเป็นที่ถกเถียง; Jenner เสนอว่ารับมาจากภาษาเขมรเก่า រះ (ระ, ส่องแสง) โดยเติมอุปสรรค វ- (ว-), ซึ่งเป็นไปได้ว่าแปลตรงตัวมาจากภาษาสันสกฤต श्री (ศฺรี)[1]

พจนานุกรมส่วนมากระบุที่มาของภาษาเขมรเก่าว่า แรกสุดรับมาจากภาษาสันสกฤต वर (วร) ถึงแม้ว่าผู้แต่งบางท่านพยายามรักษาคำมอญ-เขมรที่เป็นพื้นเพดั้งเดิมเอาไว้ ตัวอย่างเช่น Shorto (2006) คือผู้ที่สืบสร้างภาษามอญ-เขมรดั้งเดิม *brah อย่างไรก็ตาม Pain (2014) [2] ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีทั้งสองอย่าง โดยเสนอว่าที่มาของภาษาเขมรเก่าเป็นการลดรูปมาจากภาษาสันสกฤต ब्राह्मण (พฺราหฺมณ)

เทียบภาษาพม่า ဘုရား (ภุรา:), ภาษาเตลูกู వరము (วรมุ), వరుడు (วรุฑุ), ภาษาไทย พระ

การออกเสียง

แก้ไข
พยางค์ ព្រះ
การแผลงเป็นอักษรโรมัน prĕəh
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) /prĕəh/

คำนาม

แก้ไข

ព្រះ (พฺระ)

  1. พระ

คำสืบทอด

แก้ไข
  • ไทย: พระ

อ้างอิง

แก้ไข