ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰluəŋᴬ (ใหญ่); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉᩖ᩠ᩅᨦ (หลวง), ภาษาลาว ຫຼວງ (หลวง), ภาษาไทลื้อ ᦷᦜᧂ (โหฺลง), ภาษาไทดำ ꪨꪺꪉ (หฺลัวง), ภาษาไทขาว ꪨꪺꪉ, ภาษาไทใหญ่ လူင် (ลูง), ภาษาอาหม 𑜎𑜤𑜂𑜫 (ลุง์), ภาษาจ้วง lueng, ภาษาจ้วงแบบหนง long; เทียบภาษาไหลดั้งเดิม *C-luŋ

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์หฺลวง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlǔuang
ราชบัณฑิตยสภาluang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lua̯ŋ˩˩˦/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์

แก้ไข

หลวง

  1. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน
    ศาลหลวง
    วังหลวง
  2. เป็นใหญ่
    ภรรยาหลวง
  3. ใหญ่
    เขาหลวง
    ผึ้งหลวง
  4. สาธารณะ
    ทางหลวง

คำนาม

แก้ไข

หลวง

  1. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ
    หลวงวิจิตรวาทการ
  2. (ภาษาปาก) คำเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ
    หลวงปู่
    หลวงพี่
    หลวงน้า
  3. (ภาษาปาก) คำเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน
  4. คำพ้องความของ เมียหลวง

คำสืบทอด

แก้ไข
  • เขมร: ហ្លួង (หฺลัวง)

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

คำคุณศัพท์

แก้ไข

หลวง (คำอาการนาม กำหลวง หรือ ความหลวง)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩉᩖ᩠ᩅᨦ (หลวง)