ดูเพิ่ม: ยก และ ยิก

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ยัก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงyák
ราชบัณฑิตยสภาyak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/jak̚˦˥/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงยักข์
ยักษ์

รากศัพท์ 1 แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

ยัก (คำอาการนาม การยัก)

  1. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทำให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง
    ยักคิ้ว
    ยักไหล่
    เดินก้นยักไปยักมา
  2. อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน
    สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง
  3. ย้ายข้างไปมา
    ยักเอว
    ว่าวปักเป้ายักไปยักมา
  4. แว้งแทงด้วยเงี่ยง
    ปลาดุกยัก
  5. แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง
    ยักเงิน
  6. ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไปลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น)
    ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่งเรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ
  7. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต

รากศัพท์ 2 แก้ไข

คำกริยาคุณศัพท์ แก้ไข

ยัก (คำอาการนาม ความยัก)

  1. คำประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด
    ไม่ยักจริง
    ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา