ใส่
ภาษาไทย
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *s.cɤːlᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩈᩲ᩵ (ใส่), ภาษาลาว ໃສ່ (ใส่), ภาษาไทลื้อ ᦺᦉᧈ (ไส่), ภาษาไทดำ ꪻꪎ꪿ (ใส่), ภาษาไทใหญ่ သႂ်ႇ (ใส่), ภาษาไทใต้คง ᥔᥬᥱ (ใส่), ภาษาอาหม 𑜏𑜧 (สว์) หรือ 𑜏𑜧𑜤 (สาว์), ภาษาแสก จอ
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ไส่ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sài |
ราชบัณฑิตยสภา | sai | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /saj˨˩/(สัมผัส) |
คำกริยา
แก้ไขใส่ (คำอาการนาม การใส่)
- สวม
- ใส่เสื้อ
- ใส่กางเกง
- เอาไว้ข้างในภาชนะหรือสถานที่เป็นต้น
- กรอกน้ำใส่ขวด
- นำนักโทษไปใส่คุก
- บรรทุก
- เอาสินค้าใส่รถ
- (ภาษาปาก, สแลง) ด่าว่าหรือชกต่อยทันทีอย่างรุนแรง
- พอเจอกัน ยังไม่ทันจะพูดสักคำ เขาก็ใส่ฉันเป็นชุดเลย
- (ภาษาปาก, สแลง) ทำซ้ำ ๆ หรือหนัก ๆ
คำประสม
แก้ไข- เข้าใส่
- จับปูใส่กระด้ง
- ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
- พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
- รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
- ลมใส่
- ว่าใส่หน้า
- สวมใส่
- สอดใส่
- สะอึกเข้าใส่
- ใส่ไข่
- ใส่ความ
- ใส่คะแนนไม่ทัน
- ใส่ไคล้
- ใส่จริต
- ใส่ใจ
- ใส่ตะกร้าล้างน้ำ
- ใส่ถ้อยร้อยความ
- ใส่ไฟ
- ใส่ยา
- ใส่ร้าย
- ใส่ร้ายป้ายสี
- ใส่สาแหรกแขวนไว้
- ใส่สีตีไข่
- ใส่สีสัน
- ใส่สีใส่สัน
- ใส่ไส้
- ใส่หน้ากาก
- ใส่หน้ายักษ์
- ใส่หม้อถ่วงน้ำ
- ใส่หม้อลอยน้ำ
- ใส่อารมณ์
- หาเหาใส่หัว
- เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- เอาใจดูหูใส่
- เอาใจใส่