ดูเพิ่ม: ลอ, ลือ, ลื่อ, ลื้อ, ลฺือ, และ ล้อ

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ล่อ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlɔ̂ɔ
ราชบัณฑิตยสภาlo
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɔː˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC lwa); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ລໍ (ลํ) หรือ ລວາ (ลวา), ภาษาไทลื้อ ᦜᦸᧉ (หฺล้อ̂), ภาษาไทใหญ่ လေႃႈ (ล้อ̂)

รูปแบบอื่น

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ล่อ (คำลักษณนาม ตัว)

  1. สัตว์พันทางที่เกิดจากการผสมระหว่างลากับม้า ใช้เป็นสัตว์ต่าง

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ล่อ (คำอาการนาม การล่อ)

  1. ใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอุบายชักนำ
    เอาน้ำตาลล่อมด
    เอาเหยื่อล่อปลา
  2. ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาล่อหน่วย
  3. (ภาษาปาก, สแลง) กิน, กลืน
    กินเกี๊ยว แก้ปีชง..ล่อเกี๊ยว 20 จาน
  4. (ภาษาปาก, สแลง) ร่วมประเวณี
    ครูXแอบล่อกับนักเรียนมัธยม
  5. (ภาษาปาก, สแลง) ทะเลาะ, วิวาท
    พลังประชา “ป๊อก” หวังสอยเก้าอี้ “มท.1” ล่อกันเละ - อยู่กันยาก
  6. (ภาษาปาก, สแลง) ชกต่อย, ต่อสู้

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

ล่อ

  1. ผลุบ ๆ โผล่ ๆ, ไม่เห็นถนัด