เลี้ยง
ดูเพิ่ม: เลี่ยง
ภาษาไทย
แก้ไขรูปแบบอื่น
แก้ไข- (เลิกใช้) เฬี้ยง
รากศัพท์
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *liəŋꟲ, จากภาษาจีนเก่า 養 (OC *laŋʔ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩃ᩠ᨿ᩶ᨦ (ลย้ง), ภาษาลาว ລ້ຽງ (ล้ย̂ง), ภาษาไทลื้อ ᦵᦟᧂᧉ (เล้ง), ภาษาไทดำ ꪩꪸ꫁ꪉ (ลย้̂ง), ภาษาไทขาว ꪩꪸꪉꫂ, ภาษาไทใหญ่ လဵင်ႉ (เล๎ง), ภาษาไทใต้คง ᥘᥥᥒᥳ (เล๎ง), ภาษาอาหม 𑜎𑜢𑜂𑜫 (ลิง์),ภาษาจ้วง yiengx
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | เลี้ยง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | líiang |
ราชบัณฑิตยสภา | liang | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /lia̯ŋ˦˥/(สัมผัส) |
คำกริยา
แก้ไขเลี้ยง (คำอาการนาม การเลี้ยง)
- ดูแล, เอาใจใส่, บำรุง, เลี้ยงดู ก็ว่า
- เลี้ยงกล้วยไม้
- ปรนปรือด้วยอาหารการกินเป็นต้น, เลี้ยงดู ก็ว่า
- เลี้ยงสัตว์
- เลี้ยงลูก
- ประคับประคองให้ทรงตัวอยู่ได้
- เลี้ยงชีพ
- เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ
- กินร่วมกันเพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น
- เลี้ยงเพื่อน
- เลี้ยงรุ่น
- เลี้ยงสังสรรค์
- (ภาษาปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น
- เลี้ยงโต๊ะจีน
- เลี้ยงหนัง
ลูกคำ
แก้ไข- กินเลี้ยง
- ข้าเก่าเต่าเลี้ยง
- งานเลี้ยง
- ชุบเลี้ยง
- เด็กเลี้ยงแกะ
- ตายฝังยังเลี้ยง
- น้ำเลี้ยง
- เบี้ยเลี้ยง
- ใบเลี้ยง
- พ่อเลี้ยง
- พี่เลี้ยง
- ฟูมเลี้ยง
- แม่เลี้ยง
- โรงเลี้ยง
- ฤๅษีเลี้ยงลิง
- ลูกเลี้ยง
- เลี้ยงแขก
- เลี้ยงไข้
- เลี้ยงความ
- เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง
- เลี้ยงชีพ
- เลี้ยงดู
- เลี้ยงได้แต่ตัว
- เลี้ยงต้อนรับ
- เลี้ยงตอบ
- เลี้ยงตอบแทน
- เลี้ยงต้อย
- เลี้ยงตัว
- เลี้ยงโต๊ะ
- เลี้ยงน้ำใจ
- เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
- เลี้ยงผม
- เลี้ยงผอก
- เลี้ยงผี
- เลี้ยงไฟ
- เลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย
- เลี้ยงไม่ขึ้น
- เลี้ยงไม่เชื่อง
- เลี้ยงไม่โต
- เลี้ยงไม่รู้จักโต
- เลี้ยงไม่เสียข้าวสุก
- เลี้ยงไม่เสียหลาย
- เลี้ยงรับ
- เลี้ยงลา
- เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง
- เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้
- เลี้ยงไว้ดูเล่น
- เลี้ยงส่ง
- เลี้ยงเสียข้าวสุก
- เลี้ยงอาตมา
- สัตว์เลี้ยง
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
- สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง
- หล่อเลี้ยง
- เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไขคำสืบทอด
แก้ไข- → เขมร: លៀង (เลียง)
ภาษาคำเมือง
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไข- (เชียงใหม่) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /liaŋ˦˥/
คำกริยา
แก้ไขเลี้ยง (คำอาการนาม ก๋ารเลี้ยง หรือ ก๋านเลี้ยง)