ดูเพิ่ม: แด๋ง

ภาษาไทย

แก้ไข
💡️ เคยเสนอใน “รู้ไหมว่า
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
 
แดง

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์แดง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdɛɛng
ราชบัณฑิตยสภาdaeng
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/dɛːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ˀdɛːŋᴬ³, จากไทดั้งเดิม *C̥.dwiːŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᨯᩯ᩠ᨦ (แดง), ลาว ແດງ (แดง), ไทลื้อ ᦶᦡᧂ (แดง), ไทดำ ꪵꪒꪉ (แดง), ไทใหญ่ လႅင် (แลง), ไทใต้คง ᥘᥦᥒ (แลง), พ่าเก ꩫိင် (นิง์), อาหม 𑜓𑜢𑜂𑜫 (ดิง์) หรือ 𑜃𑜢𑜂𑜫 (นิง์), จ้วง nding, จ้วงแบบหนง ndiang, แสก รี๋ง; เทียบเบดั้งเดิม *ziːŋᴬ¹ (แดง; แดงเข้ม)

คำคุณศัพท์

แก้ไข

แดง (คำอาการนาม ความแดง)

  1. สีอย่างสีเลือดหรือสีชาด
    คำพ้องความ: ดูที่ อรรถาภิธาน:แดง
    มดแดง
    ผ้าแดง
ดูเพิ่ม
แก้ไข
สีในภาษาไทย
     แดง      เขียว      เหลือง      ครีม      ขาว
     เลือดหมู      บานเย็น      น้ำเงินอมเขียว      มะนาว      ชมพู
     คราม      น้ำเงิน      ส้ม      เทา      เม็ดมะปราง
     ดำ      ม่วง      น้ำตาล      ฟ้า      ฟ้าอมเขียว

คำกริยา

แก้ไข

แดง

  1. (ภาษาปาก, สแลง) ลักษณะที่ความลับซึ่งปกปิดไว้ได้ปรากฏออกมา
    เรื่องนี้แดงออกมาแล้ว

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ตัดมาจาก สตางค์แดง

คำนาม

แก้ไข

แดง

  1. (ภาษาปาก) สตางค์
    ไม่มีสักแดงเดียว

รากศัพท์ 3

แก้ไข

จากลักษณะของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีสีแดงหรือคล้ายแดง

คำนาม

แก้ไข

แดง

  1. (ไม้~) ชื่อไม้ต้นชนิด Xylia xylocarpa (Roxb.) W. Theob. ในวงศ์ Leguminosae เนื้อไม้แข็ง สีแดง ใช้ในการก่อสร้าง
  2. (เทียน~) ชื่อเรียกเมล็ดแก่แห้งของไม้ล้มลุกชนิด Lepidium sativum L. ในวงศ์ Cruciferae
  3. (ปลา~) ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด พวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus bleekeri (Günther) หรือ Micronema bleekeri (Günther) ปากเชิดขึ้น มีหนวด 2 คู่ หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือก หนวดที่ขากรรไกรล่างสั้นมากคล้ายปลาน้ำเงิน แต่มีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบมีมุมแหลมคล้ายหัวลูกศร ลำตัวมีสีเงินอมแดงหรือชมพู ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นใสไม่มีสี อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น
  4. (มด~) ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae มดงานลำตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีส้มหรือน้ำตาลปนแดงตลอดรวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีน้ำตาลแก่ ทำรังอยู่ตามต้นไม้ เช่น มะม่วง ขนุน โดยใช้ใบมาห่อเข้าด้วยกัน ขณะถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยกัดให้เกิดแผลแล้วปล่อยกรดออกมาทำให้ปวดแสบปวดร้อน เพศเมียที่มีปีก เรียก แม่เป้ง ลำตัวยาว 1.5-1.8 เซนติเมตร สีเขียวปนน้ำตาล ปีกใสสีน้ำตาล เมื่อผสมพันธุ์แล้วทำหน้าที่วางไข่เพียงอย่างเดียวเป็นมดนางพญา

คำพ้องความ

แก้ไข