นาง
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | นาง | |
---|---|---|
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | naang |
ราชบัณฑิตยสภา | nang | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /naːŋ˧/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *naːŋᴬ⁴, จากไทดั้งเดิม *naːŋᴬ, จากจีนเก่า 娘 (OC *naŋ, “หญิงสาว”)[1]; ร่วมเชื้อสายกับอีสาน นาง, ลาว ນາງ (นาง), คำเมือง ᨶᩣ᩠ᨦ (นาง), ไทลื้อ ᦓᦱᧂ (นาง), ไทดำ ꪙꪱꪉ (นาง), ไทใหญ่ ၼၢင်း (น๊าง), ไทใต้คง ᥘᥣᥒᥰ (ล๊าง) หรือ ᥢᥣᥒᥰ (น๊าง), อ่ายตน ꩫင် (นง์), อาหม 𑜃𑜂𑜫 (นง์); ร่วมเชื้อสายผ่านภาษาจีนเก่า: เขมรเก่า នាង (นาง), nâ, nõ, เขมร នាង (นาง), เวียดนาม nàng (หนั่ง), พม่า နန်း (นน์:)
คำนาม
แก้ไขนาง
- ผู้หญิง, คำประกอบเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง
- (กฎหมาย, เฉพาะไทย) คำนำหน้าชื่อหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรส แต่หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วจะใช้คำนำหน้าชื่อว่า นางสาว ต่อไปก็ได้
- (โบราณ) คำนำหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราชทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ต่ำกว่าพระยาลงมา
- นางมหาเทพกษัตรสมุห(บรรเลง สาคริก)
- (ภาษาปาก) คำเรียกหรือคำนำหน้าชื่อหญิงที่มีพฤติกรรมไม่ดีหรือน่ารังเกียจเป็นต้น (หรือใช้คำว่า นัง)
- นางแพศยา
- (ล้าสมัย) คำเรียกสัตว์ตัวเมียโดยสุภาพ
- นางช้าง
- นางม้า
- ใช้แทนคำว่า อี ที่เป็นพยางค์ต้นของบางคำเพื่อความสุภาพ
- หอยนางรม (หอยอีรม)
- นกนางแอ่น (นกอีแอ่น)
- ตุ่มนางเลิ้ง (ตุ่มอีเลิ้ง, ตุ่มอีเฬิง)
คำวิสามานยนาม
แก้ไขคำลักษณนาม
แก้ไขนาง
- ใช้กับผู้หญิง
คำสรรพนาม
แก้ไขรากศัพท์ 2
แก้ไขรากศัพท์ 3
แก้ไขอ้างอิง
แก้ไข- ↑ Pittayaporn, Pittayawat (2014), chapter Layers of Chinese Loanwords in Proto-Southwestern Tai as Evidence for the Dating of the Spread of Southwestern Tai, in MANUSYA: Journal of Humanities, volume 20 (special issue), Bangkok: Chulalongkorn University, ISSN 0859-9920, pages 47–68.