อี
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | อี | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | ii |
ราชบัณฑิตยสภา | i | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /ʔiː˧/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ອີ່ (อี่), ภาษาคำเมือง ᩋᩦ᩵ (อี่), ภาษาไทลื้อ ᦀᦲᦰ (อีะ), ภาษาเขิน ᩋᩦ᩵ (อี่), ภาษาไทใหญ่ ဢီႇ (อี่)
รูปแบบอื่น
แก้ไข- (โบราณ) อี่
คำนาม
แก้ไขอี
- คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย
- อีสาว
- อีเหมียว
- คำประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะต่ำกว่า
- (ดูหมิ่น, ล่วงเกิน, หยาบคาย) คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม
- คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง
- อีหนู
- คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น
- อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ
- อีตอนนั้นไม่สบายเลยไม่ได้ไป
- (ดูหมิ่น, ล่วงเกิน, หยาบคาย) คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ
- อีบ้า
- อีงั่ง
- อีควาย
- คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน
- เอาอีนี่ออกไปซิ
- (โบราณ) คำนำหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชนทั่วไป, ถ้าใช้ในทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่
- อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน(สามดวง)
รากศัพท์ 2
แก้ไขคำนาม
แก้ไขอี
- คำประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง
- อีตัก
- อีขีดอีเขียน
- คำประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง
- อีงุ้ม อีเข่า(ในการเล่นสะบ้า)
- อีรวบ อีกาเข้ารัง(ในการเล่นหมากเก็บ)
รากศัพท์ 3
แก้ไขยืมมาจากภาษาอังกฤษ e (อี, “ชื่อเรียกอักษร E”)
คำนาม
แก้ไขอี
- ชื่อตัวอักษรในอักษรละติน E/e