ดี
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ดี | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | dii |
ราชบัณฑิตยสภา | di | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /diː˧/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɗɤjᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ดี, ภาษาลาว ດີ (ดี), ภาษาคำเมือง ᨯᩦ (ดี), ภาษาไทลื้อ ᦡᦲ (ดี), ภาษาไทดำ ꪒꪲ (ดิ), ภาษาไทใหญ่ လီ (ลี), ภาษาอาหม 𑜓𑜣 (ดี), 𑜃𑜣 (นี) หรือ 𑜑𑜣 (หี), ภาษาปู้อี ndil, ภาษาจ้วง ndei
คำคุณศัพท์
แก้ไขดี (คำอาการนาม ความดี)
- มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ในความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับชั่ว
- คนดี
- ความดี
- ตรงข้ามกับร้าย
- โชคดี
- เคราะห์ดี
- สวย, งาม
- หน้าตาดี
- เรียบร้อย
- มรรยาทดี
- เพราะ
- เสียงดี
- จัด
- แดดดี
- เก่ง
- ดีแต่พูด
- ชอบ
- ดีแล้ว
- อยู่ในสภาพปรกติ
- สุขภาพดี
- คืนดี
รากศัพท์ 2
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɓliːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ບີ (บี), ภาษาไทใหญ่ လီ (ลี), ภาษาอาหม 𑜓𑜣 (ดี) หรือ 𑜎𑜣 (ลี), ภาษาจ้วง mbei,ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง ndi
คำนาม
แก้ไขดี
- อวัยวะภายในของคนและสัตว์ที่บรรจุน้ำข้นสีเขียว มีรสขม ซึ่งออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหาร
- เรียกน้ำข้นสีเขียว มีรสขม ออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหารว่า น้ำดี
รากศัพท์ 3
แก้ไขยืมมาจากภาษาอังกฤษ dee (ดี, “ชื่อเรียกอักษร D”)
คำนาม
แก้ไขดี
- ชื่อตัวอักษรในอักษรละติน D/d
ดูเพิ่ม
แก้ไขภาษากฺ๋อง
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไข- สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /di/
คำนาม
แก้ไขดี