ดูเพิ่ม: แหล่ม

ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ʰlɛːmᴬ¹, จากภาษาไทดั้งเดิม *ʰleːmᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ແຫຼມ (แหลม), ภาษาไทใหญ่ လႅမ် (แลม), ภาษาไทดำ ꪵꪨꪣ (แหฺลม), ภาษาไทใต้คง ᥘᥦᥛᥴ (แล๋ม), ภาษาจ้วง lem หรือ liem, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง liem; เทียบภาษาไหลดั้งเดิม *tçʰəːm, ภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม *Cazem (ซึ่งเป็นรากของภาษามาเลเซีย tajam, ภาษาตากาล็อก matalim)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์
{เสียงสระสั้น}
แหฺลมแหฺล็ม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlɛ̌ɛmlɛ̌m
ราชบัณฑิตยสภาlaemlaem
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɛːm˩˩˦/(สัมผัส)/lɛm˩˩˦/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์ แก้ไข

แหลม (คำอาการนาม ความแหลม)

  1. มีปลายเสี้ยมคม
    มีดปลายแหลม
  2. ไว, ฉลาด
    ปัญญาแหลม
  3. ชำนาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริงเป็นต้น
    ตาแหลม
  4. มีระดับสูง
    เสียงแหลม
  5. จัด
    รสหวานแหลม

คำนาม แก้ไข

แหลม

  1. แผ่นดินหรือภูเขาที่ยื่นล้ำออกไปในทะเลหรือมหาสมุทร

คำกริยา แก้ไข

แหลม (คำอาการนาม การแหลม)

  1. ล่วงล้ำ