ดูเพิ่ม: รำ, ร่า, และ ร่ำ

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์รา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงraa
ราชบัณฑิตยสภาra
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/raː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข
รากศัพท์นี้ขาดหายหรือไม่สมบูรณ์ กรุณาช่วยเพิ่มเติม หรืออภิปรายที่หน้าพูดคุย

คำนาม

แก้ไข

รา

  1. ไม้ที่กระหนาบอยู่ใต้ท้องพรึงรับพื้นเรือนเพื่อไม่ให้พื้นอ่อน อยู่ระหว่างรอด
  2. ไม้จีมเสาที่ปากหลุมซึ่งยังไม่ได้กลบดินเพื่อกันไม่ให้โอนเอน เรียกว่า ราคอเสา

รากศัพท์ 2

แก้ไข
รากศัพท์นี้ขาดหายหรือไม่สมบูรณ์ กรุณาช่วยเพิ่มเติม หรืออภิปรายที่หน้าพูดคุย

คำนาม

แก้ไข

รา

  1. ชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีคลอโรฟิลล์ ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น 2 พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ แพร่พันธุ์โดยสปอร์ อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ร่วมกับพืชอื่นก็มี

รากศัพท์ 3

แก้ไข
รากศัพท์นี้ขาดหายหรือไม่สมบูรณ์ กรุณาช่วยเพิ่มเติม หรืออภิปรายที่หน้าพูดคุย

คำกริยา

แก้ไข

รา (คำอาการนาม การรา)

  1. ค่อย ๆ เลิกไป
    รากันไป
  2. (ล้าสมัย) น้อยลง, อ่อนลง
    ไฟราดับไปเอง

รากศัพท์ 4

แก้ไข
รากศัพท์นี้ขาดหายหรือไม่สมบูรณ์ กรุณาช่วยเพิ่มเติม หรืออภิปรายที่หน้าพูดคุย

คำอนุภาค

แก้ไข

รา

  1. (โบราณ, ร้อยกรอง) คำชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทำตาม
    ไปเถิดรา

รากศัพท์ 5

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *raːᴬ²; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁᩣ (รา), ภาษาเขิน ᩁᩣ (รา), ภาษาลาว ຮາ (ฮา), ภาษาไทลื้อ ᦣᦱ (ฮา), ภาษาไทใหญ่ ႁႃး (ห๊า), ภาษาไทใต้คง ᥞᥣᥰ (ห๊า), ภาษาอาหม 𑜍𑜠 (ระ), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง raz

คำสรรพนาม

แก้ไข

รา

  1. (โบราณ) เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคำว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน 2 ก็ได้
    เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา
    (ขุนช้างขุนแผน)

ดูเพิ่ม

แก้ไข