ภาษาไทย

แก้ไข

รูปแบบอื่น

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์มัน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงman
ราชบัณฑิตยสภาman
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/man˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงมันส์

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *manᴬ (พืชมีหัวใช้เป็นอาหาร); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ມັນ (มัน), ภาษาคำเมือง ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ภาษาเขิน ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ภาษาไทลื้อ ᦙᧃ (มัน), ภาษาไทใหญ่ မၼ်း (มั๊น), ภาษาอาหม 𑜉𑜃𑜫 (มน์), ภาษาจ้วง maenz

คำนาม

แก้ไข

มัน (คำลักษณนาม หัว)

  1. ชื่อเรียกไม้เถาหรือไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลหลายวงศ์ หัวใช้เป็นอาหารได้
ลูกคำ
แก้ไข

รากศัพท์ 2

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *manᴬ (ไข; ไขมัน); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ມັນ (มัน), ภาษาคำเมือง ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ภาษาเขิน ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ภาษาไทใหญ่ မၼ်း (มั๊น), ภาษาอาหม 𑜉𑜃𑜫 (มน์), ภาษาจ้วง maenz; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *maːnᴬ²

คำนาม

แก้ไข

มัน

  1. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในคนและสัตว์ มีลักษณะนุ่มหยุ่น ๆ มีไขมันอยู่ในตัว
    มันหมู
    มันไก่

คำคุณศัพท์

แก้ไข

มัน (คำอาการนาม ความมัน)

  1. มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว
  2. เป็นเงา, ขึ้นเงา
    เหงื่อออกหน้าเป็นมัน

รากศัพท์ 3

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *manᴬ (สรรพนามบุรุษที่ 3 เอกพจน์); ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน มัน, ภาษาลาว ມັນ (มัน), ภาษาคำเมือง ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ภาษาเขิน ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ภาษาไทดำ ꪣꪽ (มัน), ภาษาไทใหญ่ မၼ်း (มั๊น), ภาษาอาหม 𑜉𑜃𑜫 (มน์), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง minz/mwnz, ภาษาจ้วง minz/faenz

คำสรรพนาม

แก้ไข

มัน

  1. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สำหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสำหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3
ดูเพิ่ม
แก้ไข

รากศัพท์ 4

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

มัน (คำอาการนาม การมัน หรือ ความมัน)

  1. เพลิน, ถูกอกถูกใจ, ออกรสออกชาติ
    เกาเสียมัน
ดูเพิ่ม
แก้ไข