ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลาง (MC banX); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨻᩮᩬᩥ᩵ᩁ (เพอิ่ร), ᨻᩮᩥ᩠᩵ᨶ (เพิ่น), ภาษาเขิน ᨻᩮᩨ᩠᩵ᨶ (เพื่น), ภาษาลาว ເພື່ອນ (เพื่อน), ເພິ່ນ (เพิ่น), ภาษาไทใหญ่ ပိူၼ်ႈ (เปิ้น), ภาษาเวียดนาม bạn

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์เพื่อน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงpʉ̂ʉan
ราชบัณฑิตยสภาphuean
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰɯa̯n˥˩/(สัมผัส)

คำสรรพนาม

แก้ไข

เพื่อน

  1. (โบราณ) คำใช้แทนคำว่า เขา[1][2]
    เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
    (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ 1)
  2. (ภาษาปาก) คำใช้แทนคำว่า เขา หรือ ท่าน ในอาการที่เป็นกันเอง
  3. (ภาษาปาก) สิ่งใดก็ตามหรือสิ่งอื่นในพวกเดียวกัน
    ของยี่ห้อนี้ดีกว่าเพื่อน
    ชอบมาก่อนเพื่อนทุกที

คำนาม

แก้ไข

เพื่อน (คำลักษณนาม คน)

  1. (ล้าสมัย) ผู้ชอบพอรักใคร่กัน
  2. (โบราณ) ผู้หญิงที่รักใคร่ผู้หญิงด้วยกัน
  3. ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน
    เขามีเพื่อนมาก
  4. ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น
    เพื่อนร่วมโรงเรียน
    เพื่อนร่วมรุ่น
    เพื่อนข้าราชการ
    เพื่อนกรรมกร
  5. ผู้ร่วมธุระ
    อยู่เป็นเพื่อนกันก่อน
    ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย
  6. ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน
    เพื่อนมนุษย์
    เพื่อนร่วมโลก

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

คำสืบทอด

แก้ไข
  • เขมร: ភឿន (เภือน)

อ้างอิง

แก้ไข
  1. ราชบัณฑิตยสถาน (2013) พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ ๑, 3rd edition, Bangkok: ราชบัณฑิตยสถาน, →ISBN, page 51: “เพื่อน ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่ตนพูดถึง หมายถึง เขา ในความว่า "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" (๑/๑๙–๒๐)”
  2. วงษ์เทศ, สุจิตต์ (1983) สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย, Bangkok: เรือนแก้วการพิมพ์, →ISBN, page 179: “เพื่อน หมายถึง เขา (เฉพาะในที่นี้). (ประเสริฐ [ณ นคร]) ในปัจจุบัน คำ เพื่อน หรือ เปิ้น [ในภาษาเหนือ] เป็นสรรพนามบุรุษที่หนึ่งก็ได้ ที่สามก็ได้. (ทองสืบ [ศุภะมารค]) ทางภาคอิสานออกเสียงว่า เผิ่น ใช้เฉพาะบุรุษที่สามเท่านั้น.”

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

เพื่อน

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨻᩮᩬᩥ᩵ᩁ (เพอิ่ร)