ดีด
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ดีด | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | dìit |
ราชบัณฑิตยสภา | dit | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /diːt̚˨˩/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɓliːtᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ດີດ (ดีด), ภาษาไทดำ ꪒꪲꪒ (ดิด), ภาษาไทใหญ่ ၼဵတ်း (เน๊ต) หรือ လဵတ်း (เล๊ต), ภาษาไทใต้คง ᥘᥤᥖᥴ (ลี๋ต), ภาษาอาหม 𑜃𑜢𑜄𑜫 (นิต์), ภาษาจ้วง ndit
คำกริยา
แก้ไขดีด (คำอาการนาม การดีด)
- สะบัดนิ้วออกไปโดยแรงเพื่อให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งหลุดจากที่หรือเคลื่อนออกไป
- ดีดลูกหิน
- ดีดแมลงออกจากเสื้อ
- ยกขึ้นด้วยแม่แรงเป็นต้น
- ดีดเรือน
- เล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายโดยใช้ปลายนิ้วมือหรืออุปกรณ์สะกิดให้เกิดเสียง
- ดีดจะเข้
- ดีดพิณ
- ดีดกีตาร์
- เอานิ้วมือแตะแล้วเขี่ยให้เลื่อนไป
- ดีดลูกคิด
- เอาปลายนิ้วกดแล้วปล่อย
- ดีดพิมพ์ดีด
- ดีดเปียโน
- (โบราณ) ทำห่างเหินผู้ใหญ่ ไม่เข้าหน้า
- หมู่นี้ชักดีดไปไม่เข้าหน้า
- (ภาษาปาก) มีแรงฮึดสู้ขึ้นมากะทันหัน
รากศัพท์ 2
แก้ไขคำนาม
แก้ไขดีด
- ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Elateridae ลำตัวยาว แบนเล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดำ น้ำตาล หรือเทา บางชนิดมีจุดเป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่งยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ 2 ทำให้สามารถดีดตัวกลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด Agrypnus aegualia Candèze ลำตัวยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร สีดำ
รากศัพท์ 3
แก้ไขคำนาม
แก้ไขดีด
- ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ 2 ข้าง ก้ามข้างหนึ่งโตกว่ามาก สามารถทำให้เกิดเสียงดังด้วยวิธีหนีบก้าม โดยเฉพาะเมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัยหลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus De Man ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย