ดูเพิ่ม: หม้อ

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์หฺมอ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmɔ̌ɔ
ราชบัณฑิตยสภาmo
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/mɔː˩˩˦/(สัมผัส)
ไฟล์เสียง

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ʰmɔːᴬ¹ (หมอผี), จากภาษาไทดั้งเดิม *ʰmoːᴬ (หมอผี), จากภาษาจีนเก่า (OC *ma); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾᩬᩴ (หมอํ), ภาษาเขิน ᩉ᩠ᨾᩳ (หมอ), ภาษาลาว ໝໍ (หมํ), ภาษาไทลื้อ ᦖᦸ (หฺมอ̂), ภาษาไทดำ ꪢꪷ (หฺมํ), ภาษาไทใหญ่ မေႃ (มอ̂), ภาษาไทใต้คง ᥛᥨᥝᥴ (โม๋ว), ภาษาอาหม 𑜉𑜦𑜡 (มอ̂), 𑜈𑜦𑜡 (บอ̂), หรือ 𑜈𑜨𑜦𑜡 (บฺวอ̂), ภาษาจ้วง mo (ในคำ bohmo), ภาษาจ้วงแบบหนง moa

คำนาม

แก้ไข

หมอ

  1. ผู้รู้, ผู้ชำนาญ
    หมองู
    หมอนวด
  2. (โบราณ) หมอผี
  3. (ไม่ทางการ) ผู้ตรวจรักษาโรค, แพทย์
    หมอฟัน
    หมอเด็ก
คำพ้องความ
แก้ไข
ดูที่ อรรถาภิธาน:หมอ
คำประสม
แก้ไข
คำสืบทอด
แก้ไข
  • เขมร: ហ្ម (หฺม)

คำสรรพนาม

แก้ไข

หมอ

  1. ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่
  2. ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย)
    อย่าไปฟังหมอนะ
การใช้
แก้ไข

บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้ายหมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໝໍ (หมํ)

คำนาม

แก้ไข

หมอ

  1. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Anabas testudineus (Bloch) ในวงศ์ Anabantidae ลำตัวป้อม แนวสันหลังโค้งพอกับแนวสันท้อง แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง ตาอยู่ค่อนไปทางปลายหัว ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กแต่แข็งแรง ขอบกระดูกแผ่นปิดเหงือกหยักเป็นหนามแข็ง ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลำตัวและครีบมีสีดำคล้ำ ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจางกว่าและมีลายบั้งพาดลำตัวเป็นระยะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำแทบทุกประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจในที่ดอนได้อีกด้วย ขนาดยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร
คำพ้องความ
แก้ไข
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไข
คำประสม
แก้ไข